- ไม่
- ว. มิ, คำปฏิเสธความหมายของคำที่อยู่ถัดไป เช่น ไม่กิน ไม่ดี, ถ้าอยู่ท้ายคำต้องมีคำ หา อยู่หน้า เช่น หากินไม่. ไม่กี่น้ำ (ปาก) ว. ไม่ช้า, ไม่นาน, ไม่เท่าไร, เช่น เก่งไปได้ไม่กี่น้ำหรอก. ไม่กี่อัฐ, ไม่กี่อัฐฬส (สำ) น. ราคาถูก เช่น ของนี้ราคาไม่กี่อัฐ. ไม่ใกล้ไม่ไกล ว. ใกล้ เช่น บ้านฉันอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากที่นี่; กันเอง เช่น คนไม่ใกล้ไม่ไกล. ไม่เข้าการ ว. ไม่เป็นประโยชน์, ไม่มีสาระ. ไม่เข้าแก๊ป, ไม่เข้าท่า ว. ไม่แนบเนียน, ไม่รัดกุม. ไม่เข้าใครออกใคร ก. ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง, เป็นกลาง, คงความเป็นตัว ของตัวเอง, ไม่เห็นแก่หน้าใคร, เช่น เขาตัดสินไม่เข้าใครออกใคร ปืนไม่เข้าใครออกใคร. ไม่เข้ายา (สำ) ว. ไม่ได้เรื่อง, ไม่ได้ความ. ไม่ค่อย, ไม่ใคร่ ว. ไม่ถึงกับ, ไม่ถึงขนาดนั้น, เช่น ไม่ค่อยดำ. ไม่คิดไม่ฝัน ก. นึกไม่ถึง, เกินคาด, เช่น ไม่คิดไม่ฝันว่าจะถูกสลากกินแบ่งรางวัลที่ ๑. ไม่ชอบมาพากล ว. ไม่น่าไว้วางใจ, ไม่เข้าที. ไม่เชิง ว. ไม่เป็นอย่างใดอย่างหนึ่งโดยแน่นอน เช่น จะว่าขี้เกียจก็ไม่เชิง. ไม่ใช่ขี้ไก่ (สำ) ว. ไม่เลว, มีอะไรดีเหมือนกัน ดูหมิ่นไม่ได้. ไม่ใช่เล่น ว. เก่ง, พิเศษกว่าธรรมดา, เช่น ฝีปากไม่ใช่เล่น เด็กคนนี้ซนไม่ใช่เล่น. ไม่ดูเงาหัว (สำ) ก. ไม่รู้จักประมาณตน. ไม่ดูตาม้าตาเรือ (สำ) ก. ไม่พิจารณาให้รอบคอบ. ไม่เดียงสา ว. ไม่รู้ประสา, ไม่รู้ผิดรู้ชอบตามปรกติสามัญ, เช่น เด็กยังไม่เดียงสา. ไม่ได้ความ ว. ไม่ได้เรื่อง, ไม่ได้การ, เช่น พูดไม่ได้ความ, ไม่ดี, ใช้การไม่ได้, เช่น ของไม่ได้ความ. ไม่ได้เบี้ยออกข้าว (สำ) ว. ไม่มีส่วนได้อะไรด้วยเลย, ไม่มีส่วนได้อะไรด้วยแล้ว ยังต้องเสียผลประโยชน์ไปอีก. ไม่ได้เบี้ยเอาข้าว (สำ) ว. ไม่ได้อย่างหนึ่งก็ต้องเอาอีกอย่างหนึ่ง, ไม่ยอมกลับมือเปล่า. ไม่ได้ไม่เสีย ว. เสมอตัว, เท่าทุน. ไม่ได้เรื่อง, ไม่ได้เรื่องได้ราว ว. ถือเป็นเรื่องเป็นราวไม่ได้, ถือเป็นสาระไม่ได้. ไม่ได้ศัพท์ (กลอน) ว. ไม่ได้เรื่อง, ไม่ได้ความ, เลอะเทอะเอาเป็นหลักไม่ได้, เช่น พูดเลอะหลงไหลไม่ได้ศัพท์. (สังข์ทอง). ไม่ได้สิบ (กลอน) ก. งงจนคิดอะไรไม่ออกหรือทำอะไรไม่ถูก เช่น ท้าวสามนต์ เสียใจไม่ได้สิบ. (สังข์ทอง). ไม่เต็มเต็ง, ไม่เต็มบาท (ปาก) ว. บ้า ๆ บอ ๆ สติไม่สมบูรณ์, มีจิตใจใกล้ไปทาง บ้า ๆ บอ ๆ, สองสลึงเฟื้อง หรือ สามสลึงเฟื้อง ก็ว่า. ไม่เต็มหุน (ปาก) ว. มีสติไม่สมบูรณ์, บ้า ๆ บอ ๆ. ไม่ถูกโรคกัน (ปาก) ก. เข้ากันไม่ได้, ไม่ถูกนิสัยกัน. ไม่ทัน ว. ใช้ประกอบหน้ากริยาหมายความว่า ยังมิได้ตั้งตัวตั้งใจ ทำให้ พลาดไป เช่น ไม่ทันฟัง ไม่ทันคิด, ใช้ประกอบหลังกริยาหมายความว่า ไม่มีความสามารถที่จะติดตามเรื่องได้ทัน เช่น ฟังไม่ทัน พูดไม่ทัน คิดไม่ทัน. ไม่เป็นการ ก. ไม่ได้ผล, ไม่สำเร็จ, เช่น เห็นจะไม่เป็นการ. ไม่เป็นท่า ก. หมดรูป, ไม่เข้าท่า, ไม่ได้ความ, เช่น แพ้ไม่เป็นท่า. ไม่เป็นเรื่อง, ไม่เป็นเรื่องเป็นราว ว. ไม่มีสาระ เช่น เรื่องไม่เป็นเรื่อง. ไม่เป็นโล้เป็นพาย ก. ไม่ได้เรื่องได้ราว, จับจด, ไม่จริงจัง, เช่น ทำงานไม่เป็นโล้เป็นพาย. ไม่เป็นสุข ว. ไม่มีความสุข. ไม่เป็นอัน ว. ใช้นำหน้ากริยามีความหมายไปในลักษณะที่ไม่สะดวก เช่น ไม่เป็นอันกิน ไม่เป็นอันนอน. ไม่พูดพร่ำทำเพลง (สำ) ว. ไม่รอให้ชักช้า, ทันทีทันใด. ไม่ฟังเสียง ก. ดื้อดึง, ไม่ยอมเชื่อฟัง. ไม่มีเงาหัว (สำ) ก. เป็นลางว่าจะตายร้าย. ไม่มีปี่มีกลอง, ไม่มีปี่มีขลุ่ย (สำ) ก. ไม่มีเค้า เช่น การที่เจ็บนั้นก็ไม่มีปี่มีกลอง. (พระราชหัตถเลขา ร. ๗). ไม่มีมูลฝอยหมาไม่ขี้ (สำ) ก. ไม่มีเหตุย่อมไม่มีผล. ไม่มีวันเสียละ (ปาก) ว. ไม่มีทางจะเป็นไปได้. ไม่ยี่หระ ก. ไม่สะทกสะท้าน, ไม่ใยดี, เช่น ใครจะด่าว่าอย่างไร เขาก็ไม่ยี่หระ. ไม่แยแส ก. ไม่เป็นธุระ, ไม่เกี่ยวข้อง. ไม่รู้จักเสือเอาเรือเข้ามาจอด ไม่รู้จักมอดเอาไม้เข้ามาวาง (สำ) ก. ทำสิ่งที่ไม่รู้ว่าจะมีภัยแก่ตัว. ไม่รู้จักหัวนอนปลายตีน (สำ) ก. ไม่รู้ความเป็นมาหรือพื้นเพ. ไม่รู้ไม่ชี้ ว. ไม่รับรู้, ไม่รับผิดชอบ, เช่น ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้. ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ (สำ) ก. ไม่รู้เรื่องราวที่เกิดขึ้น, นอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็น. ไม่ลงโบสถ์กัน (ปาก) ก. ไม่ถูกกัน, ไม่ลงรอยกัน, เข้ากันไม่ได้. ไม่ลดราวาศอก ก. ไม่ยอมผ่อนปรน เช่น เถียงไม่ลดราวาศอก. ไม่ลืมหูลืมตา ว. งมงาย เช่น หลงจนไม่ลืมหูลืมตา. ไม่เล่นด้วย ก. ไม่ร่วมด้วย, ไม่เอาด้วย, เช่น เรื่องนี้ไม่เล่นด้วย. ไม่สู้ ว. ไม่ค่อย เช่น ไม่สู้ดี คือ ไม่ค่อยดี. ไม่หยุดหย่อน ว. อาการที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง, ไม่เว้นระยะ, เช่น ทำงานไม่หยุดหย่อน. ไม่หวาดไม่ไหว ว. ไม่รู้จักหมด เช่น กินไม่หวาดไม่ไหว. ไม่หือไม่อือ (ปาก) ว. ไม่ตอบ, ไม่ขานรับ, เช่น เรียกแล้วก็ยังไม่หือไม่อือ. ไม่เห็นจะ ว. ใช้ประกอบแสดงความเห็นหรือความรู้สึกในลักษณะที่ว่าไม่ สมควรที่จะ ไม่น่าจะ รู้สึกว่าไม่ เช่น ไม่เห็นจะน่ารักเลย ไม่เห็นจะน่ากลัวเลย. ไม่เห็นน้ำตัดกระบอก ไม่เห็นกระรอกก่งหน้าไม้ (สำ) ว. ด่วนทำไปทั้ง ๆ ที่ยังไม่ถึงเวลาอันสมควร. ไม่เหลือบ่ากว่าแรง (สำ) ว. ไม่เกินความสามารถที่จะทำได้. ไม่อินังขังขอบ ก. ไม่เอาใจใส่, ไม่ดูแล, ไม่นำพา. ไม่เออออห่อหมก (สำ) ก. ไม่ตกลงด้วย, ไม่ยินยอม. ไม่เอาการเอางาน, ไม่เอางานเอาการ ก. ไม่ตั้งใจทำการงานด้วยความขยันขันแข็ง. ไม่เอาความ ก. ไม่ฟ้องร้องเอาความผิดตามกฎหมาย. ไม่เอาถ่าน ก. ไม่รักดี. ไม่เอาธุระ ก. ปล่อยปละละเลย, ไม่เอาใจใส่. ไม่เอาพี่เอาน้อง ก. ไม่เอื้อเฟื้อจุนเจือญาติพี่น้อง.
Thai dictionary (พจนานุกรมไทย). 2014.