- หน้า
- น. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับหลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่ เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขา ไว ๆ; ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยา หน้าปกหนังสือ; เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่น กระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม; ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่าง กระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง เช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและน้ำเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน; ส่วน กว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น; ชายผ้าบางชนิด ที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า; คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้ว ก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน; โดยปริยายหมายถึงคน เช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน; เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้า ไม่ไว้หน้า; ลักษณนามบอกจำนวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือ เล่มนี้มี ๒๐๐ หน้า. ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า; ตรงข้ามกับ หลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้าม กับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า. หน้ากระฉีก น. ของหวานทำด้วยมะพร้าวทึนทึกขูด กวนกับน้ำตาลปึกให้ เข้ากันจนเหนียว อบด้วยควันเทียนอบให้หอม ใช้เป็นไส้หรือหน้าขนม เช่น ขนมใส่ไส้มีไส้เป็นหน้ากระฉีก ข้าวเหนียวหน้ากระฉีก. หน้ากระดาน ว. มีลักษณะเรียงแถวไหล่ต่อไหล่หันหน้าไปทางเดียวกัน เช่น ลูกเสือเดินแถวหน้ากระดาน. น. พื้นที่ราบด้านตั้งที่อยู่บนบัวหงาย หรือใต้บัวคว่ำ. หน้ากระดูก น. รูปหน้าที่มีกระดูกสันแก้มสูง. หน้ากร้าน น. ผิวหน้าที่หยาบคล้ำ เช่น ตากแดดตากลมจนหน้ากร้าน. หน้ากล้อ น. หน้ากลม เช่น เขาเป็นคนผมหยิก หน้ากล้อ คอสั้น ฟันขาว. หน้ากาก น. เครื่องบังใบหน้าทั้งหมดหรือบางส่วน. หน้ากาฬ น. เกียรติมุข. หน้าเก้อ ว. มีสีหน้าเจื่อนเพราะรู้สึกผิดคาดหรือทำอะไรผิดพลาดไป เช่น เด็กตีหน้าเก้อเมื่อถูกจับได้ว่าทำความผิด. หน้าเก่า ว. ที่เคยเห็นหรือรู้จักกันมาเป็นเวลานานจนคุ้นตา เช่น ดารา หน้าเก่า ลูกค้าหน้าเก่า, หน้าเดิม ก็ว่า. หน้าแก่ ว. ที่มองดูอายุมากกว่าอายุจริง เช่น เด็กคนนี้หน้าแก่, เรียกหมาก ที่หน้าเต็มใกล้จะสุกว่า หมากหน้าแก่. หน้าขบ ดู หน้าร่าหุ์, หน้าราหู. หน้าขมึงทึง, หน้าถมึงทึง น. หน้าตาที่บูดบึ้งไม่ยิ้มแย้ม, หน้าตาน่ากลัว. หน้าขา น. ส่วนหน้าของขานับตั้งแต่โคนขาถึงหัวเข่า. หน้าข้าวตัง น. หน้าซึ่งมีรอยแผลเป็นปรุ ๆ มักเกิดจากฝีดาษ, หน้ามอด ก็ว่า. หน้าขึงตาขึง น. หน้าซึ่งแสดงว่าโกรธหรือไม่พอใจอย่างมาก. หน้าขึ้นนวล น. หน้าของคนใกล้จะตาย มักจะดูนวลกว่าปรกติ ซึ่งคน โบราณเชื่อกันว่าคนบางคนที่ทำบุญกุศลไว้มากเมื่อใกล้จะตายหน้ามัก จะขึ้นนวล. หน้าเข้ม ว. มีสีหน้าเครียดหรือขุ่นเคือง, หน้าตึง ก็ว่า. หน้าเข้มคม น. ใบหน้าหล่อมีเสน่ห์ คิ้วดกดำ ตาคม (ใช้แก่ผู้ชายผิวคล้ำ หรือดำแดง). หน้าเขียง น. แม่ครัวประจำเขียง. หน้าเขียว ว. มีสีหน้าแสดงอาการโกรธจัด เช่น เขาโกรธจนหน้าเขียว; หน้าซึ่งแสดงอาการเจ็บปวดมากเพราะถูกบีบเป็นต้น, โดยปริยาย หมายความว่า ถูกบีบหรือบังคับหนัก. หน้าแข้ง น. ส่วนหน้าของขา ใต้เข่าลงไปถึงข้อเท้า, แข้ง ก็ว่า. หน้าคมขำ น. ใบหน้าสวยซึ้งชวนพิศ คิ้วดกดำ ตาคม ''(ใช้แก่ผู้หญิงผิวคล้ำ หรือดำแดง). หน้าคว่ำ ว. ทำหน้าแสดงอาการไม่พอใจหรือโกรธจนไม่เงยหน้าขึ้นมองดู. หน้างอ, หน้าง้ำ, หน้าเง้า, หน้าเง้าหน้างอ, หน้าบึ้ง, หน้าหงิก, หน้าหงิก หน้างอ ว. มีสีหน้าแสดงอาการโกรธ ไม่พอใจ หรือไม่ได้อย่างใจ เป็นต้น. หน้างอก น. หน้าผากกว้างยื่นง้ำออกไปกว่าปรกติ. หน้างัว ดู หน้าวัว ๑ ใน หน้า. หน้าแง น. ส่วนของหน้าตรงหว่างคิ้ว เช่น นักมวยถูกชกหน้าแง. หน้าจ๋อย ว. มีสีหน้าสลด, มีสีหน้าซีดเซียว, เช่น นักเรียนหน้าจ๋อยเพราะ ถูกครูตำหนิ. หน้าจั่ว น. เครื่องบนแห่งเรือนที่ปิดด้านสกัดหลังคา สำหรับกันลมและ แดดฝน มีรูปเป็นสามเหลี่ยม, จั่ว ก็ว่า; (คณิต) เรียกรูปสามเหลี่ยมที่มีด้าน คู่หนึ่งยาวเท่ากันว่า สามเหลี่ยมหน้าจั่ว. หน้าจืด ว. มีสีหน้าซีดหรือไม่เข้มคม. หน้าเจี๋ยมเจี้ยม ว. วางหน้าไม่สนิท มีอาการเก้อเขิน. หน้าเจื่อน ว. วางหน้าไม่สนิทเพราะกระดากอายเนื่องจากถูกจับผิดได้ เป็นต้น. หน้าฉาก (สำ) ว. ที่แสดงให้ปรากฏเปิดเผย เช่น ฐานะหน้าฉากของเขา เป็นนักธุรกิจที่มีชื่อเสียง แต่ความจริงค้าขายยาเสพติด, ตรงข้ามกับ หลังฉาก. น. ความเป็นไปหรือพฤติกรรมที่เปิดเผย, ตรงข้ามกับ หลังฉาก. หน้าฉาน, หน้าที่นั่ง น. ที่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้าอยู่หัวหรือพระราชินี เช่น อย่าเดินตัดหน้าฉาน แสดงหน้าที่นั่ง. หน้าเฉย ว. มีสีหน้าแสดงความไม่รู้สึกยินดียินร้าย หรือไม่สนใจใยดีต่อสิ่ง หรือเหตุการณ์ใด ๆ. หน้าเฉยตาเฉย, หน้าตาเฉย ว. อาการที่วางหน้าเป็นปรกติ ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ทั้ง ๆ ที่ตนกระทำความผิด หรือบางครั้งกระทำความผิดโดยไม่เจตนา เช่น เขาหยิบฉวยของผู้อื่นไปอย่างหน้าเฉยตาเฉย. หน้าโฉนด [-ฉะโหฺนด] (ปาก) น. หนังสือสำคัญของทางราชการ แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน. หน้าชา ว. อาการที่รู้สึกอับอายขายหน้าระคนโกรธ แต่ก็ตอบโต้ไม่ได้ เช่น เธอรู้สึกหน้าชาที่ถูกประจาน. หน้าชื่นตาบาน ว. มีสีหน้าเบิกบานแจ่มใส. หน้าชื่นอกตรม ว. ที่ทำเป็นร่าเริงแต่ในใจมีทุกข์, หน้าชื่นอกกรม ก็ว่า. หน้าเชิด น. หน้าที่เงยขึ้น. ว. อาการที่คอตั้งเงยหน้าแสดงความเย่อหยิ่ง หรือภาคภูมิใจเป็นต้น เช่น เขานั่งรถยนต์คันใหญ่ทำหน้าเชิด. หน้าซีก น. หน้าด้านข้าง (เห็นตาและหูข้างเดียว). หน้าซีด ว. มีสีหน้าไม่สดใสหรือไม่มีสีเลือดเพราะอดนอน ตกใจ หรือถูก จับได้ว่าทำผิดเป็นต้น. หน้าซื่อใจคด (สำ) ว. มีสีหน้าดูซื่อ ๆ แต่มีนิสัยคดโกง. หน้าเซ่อ ว. อาการที่วางหน้าไม่รู้ไม่ชี้หรือทำเป็นไม่รู้เรื่อง เช่น ตีหน้าเซ่อ. หน้าเซียว ว. มีสีหน้าแสดงความอิดโรยไม่สดใสเพราะอดนอนมาก เป็นต้น. หน้าด้าน, หน้าทน, หน้าหนา ว. มีสีหน้าไม่สลดทั้งที่ควรจะอายแต่ก็ ไม่อาย, โดยปริยายหมายความว่า ไม่มีความรู้สึกอายในสิ่งที่ควรอาย. หน้าดำ น. ใบหน้าหมองคล้ำไม่มีราศีเพราะความทุกข์หรือต้องทำงาน กลางแจ้งเป็นต้น. หน้าดำคล้ำเครียด น. ใบหน้าหมองคล้ำเพราะต้องคร่ำเครียดหมกมุ่นอยู่ กับงาน หรือต้องใช้ความคิดอย่างหนัก, หน้าดำคร่ำเครียด ก็ว่า. หน้าดำหน้าแดง ว. อาการที่ใช้วาจาโต้เถียงกันเพราะมุ่งที่จะเอาชนะ อีกฝ่ายหนึ่ง เช่น แม่ค้าเถียงกันหน้าดำหน้าแดง. หน้าเดิม ว. ที่เคยเห็นหรือรู้จักกันมาเป็นเวลานานจนคุ้นตา เช่น งานนี้มี แต่คนหน้าเดิม, หน้าเก่า ก็ว่า. หน้าแดง น. หน้าเต็มไปด้วยเลือดฝาดเพราะความกระดากอายหรือโกรธ เป็นต้น. หน้าตัก น. คำที่ใช้เรียกขนาดความกว้างของพระพุทธรูปแบบนั่งขัดสมาธิ โดยวัดจากสุดเข่าข้างหนึ่งถึงอีกข้างหนึ่ง ใช้วัดด้วยมาตราไทย เช่น พระพุทธรูปองค์นี้หน้าตัก ๑๐ นิ้ว พระประธานในโบสถ์ หน้าตัก ๑ วา ๒ ศอก ๕ นิ้ว; โดยปริยายหมายถึงเงินหรือเบี้ยพนันที่วางอยู่ตรงหน้าของ ผู้เล่นการพนัน เช่น สู้แค่หมดหน้าตัก หน้าตั้ง ๑ น. ของว่างซึ่งทำด้วยหมู กุ้ง และกะทิ สำหรับกินกับข้าวตังทอด. หน้าตั้ง ๒ ว. อาการที่แสดงหน้าตาตื่น (ใช้แก่กริยาวิ่ง), หน้าเริด ก็ว่า. หน้าตัวเมีย น. ลักษณะหน้าตาท่าทางคล้ายผู้หญิง, โดยปริยายหมายความ ว่า ใจเสาะ, ขี้ขลาด, ไม่กล้าสู้, (มักพูดเป็นเชิงเหยียดหยามผู้ชาย). หน้าตา น. เค้าหน้า เช่น เด็กคนนี้หน้าตาเหมือนแม่; เกียรติยศชื่อเสียง เช่น นักกีฬาไปแข่งขันชนะเลิศในต่างประเทศก็เป็นหน้าตาให้กับประเทศ ของตน. หน้าตาขึงขัง ว. สีหน้าที่แสดงว่าเอาจริงเอาจัง ดูน่ากลัว. หน้าตาตื่น, หน้าตื่น ว. มีสีหน้าตื่นเต้นตกใจเป็นต้น เช่น เขาวิ่งหนีไฟ หน้าตาตื่นมา. หน้าต่าง น. ช่องฝาบ้านหรือเรือนเป็นต้นที่เปิดปิดได้ สำหรับรับแสง สว่างหรือให้อากาศถ่ายเทได้ แต่มิใช่ทางสำหรับเข้าออก. หน้าตาย น. หน้าเฉยเหมือนไม่มีความรู้สึก เช่น เธอเป็นคนหน้าตาย. ว. ตีสีหน้าทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ เช่น ตลกหน้าตาย. หน้าตึง ว. มีสีหน้าเครียดหรือขุ่นเคือง, หน้าเข้ม ก็ว่า; มีสีหน้าแดงหรือ เข้มขึ้นเพราะเริ่มเมา. หน้าตูม ว. มีสีหน้าแสดงอาการไม่พอใจ เช่น เธอโกรธใครมาหน้าตูม เชียว. หน้าเตา น. แม่ครัวประจำเตา. หน้าถอดสี ว. มีสีหน้าแสดงความผิดหวังหรือตกใจเป็นต้น, หน้าเผือด หรือ หน้าเผือดสี ก็ว่า. หน้าถัง น. หน้าร้านหรือโรงที่เปิดปิดด้วยกระดานเป็นแผ่น ๆ สอดเรียง เลื่อนไปตามรางที่ทำไว้. หน้าท้อง น. ส่วนหน้าของท้อง ตั้งแต่ลิ้นปี่จนถึงบริเวณต้นขา เช่น ฉีดเซรุ่ม ป้องกันพิษสุนัขบ้าที่หน้าท้องหลังจากถูกสุนัขกัด; โดยปริยายหมายถึงท้อง ที่ยื่นเพราะมีไขมันมาก เช่น ผู้หญิงคนนี้สวยดี เสียแต่มีหน้าท้อง. หน้าทับ น. เสียงตีเครื่องดนตรีที่ขึงด้วยหนัง จำพวกตะโพนหรือกลองแขก ซึ่งมีบัญญัติเป็นแบบแผนสำหรับตีประจำทำนองเพลงต่าง ๆ ใช้บอก สัดส่วนและประโยคของเพลงนั้น ๆ เช่น หน้าทับปรบไก่. หน้าทะเล้น ว. อาการที่ทำหน้าหัวเราะอย่างทะลึ่งไม่เหมาะแก่บุคคลหรือ โอกาส. หน้าที่ น. กิจที่จะต้องทำด้วยความรับผิดชอบ. หน้าที่นั่ง, หน้าฉาน น. ที่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้าอยู่หัวหรือพระราชินี เช่น แสดงหน้าที่นั่ง อย่าเดินตัดหน้าฉาน. หน้านวล ๑ น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ทำด้วยแป้ง ไข่ขาว น้ำตาลทราย ใส่พิมพ์ รูปคล้ายเรือแล้วอบ. หน้านวล ๒ ว. มีสีหน้าผุดผ่องเป็นน้ำเป็นนวล, คนโบราณเชื่อว่า หญิงที่มี ครรภ์ถ้ามีหน้านวลอยู่เสมอ แสดงว่า บุตรในครรภ์จะเป็นเพศหญิง. หน้านิ่วคิ้วขมวด ว. อาการที่ทำหน้าย่นขมวดคิ้วแสดงความโกรธหรือ เจ็บปวดเป็นต้น. หน้าเนื้อใจเสือ (สำ) ว. มีหน้าตาแสดงความเมตตา แต่ใจเหี้ยมโหด. หน้าบอกบุญไม่รับ ว. มีสีหน้าบึ้งตึง เช่น เขาผิดหวังอะไรมา ทำหน้า บอกบุญไม่รับ. หน้าบัน น. จั่ว (ใช้แก่ปราสาท โบสถ์ วิหาร เป็นต้น). หน้าบาง ว. มีความรู้สึกไวต่อสิ่งที่น่าละอาย. หน้าบาน ว. ทำหน้าแสดงอาการดีใจ เช่น เขาหน้าบานเพราะสอบได้ที่ ๑. หน้าบูด ว. มีสีหน้าแสดงอาการเบื่อหน่ายหรือไม่พอใจ เช่น เขาทำหน้าบูด เพราะเจอเรื่องที่ไม่สบอารมณ์, หน้าบูดหน้าเบี้ยว หรือ หน้าเบี้ยวหน้าบูด ก็ว่า. หน้าเบ้ น. หน้าที่แสดงอาการผิดหวัง ไม่เห็นด้วย ไม่พอใจ หรือ เจ็บปวด เป็นต้น. หน้าปลาจวด น. หน้าแหลมอย่างหัวปลาจวด. หน้าป๋อหลอ ว. อาการที่นั่งให้เห็นหน้าโดยมิได้มีความสลักสำคัญอะไร. หน้าปัด น. แผ่นที่มีตัวเลขหรือสัญลักษณ์แสดงเวลาหรือปริมาณเป็นต้น เช่น หน้าปัดนาฬิกา หน้าปัดวิทยุ หน้าปัดมาตรวัดน้ำ. หน้าปูเลี่ยน ๆ ว. อาการที่วางหน้าไม่สนิท กระดากอายเพราะถูกจับผิดได้ เป็นต้น, หน้าเจื่อน ก็ว่า. หน้าเป็น ว. อาการที่ทำหน้ายิ้มหรือหัวเราะอยู่เรื่อย ๆ, ช่างหัวเราะ. หน้าเปิด น. หน้าอิ่มเอิบผ่องใสชวนดู, หน้าสว่าง ก็ว่า. หน้าผา น. ด้านภูเขาที่มีแผ่นหินตั้งชัน. หน้าผาก น. ส่วนเบื้องบนของใบหน้าอยู่เหนือคิ้วขึ้นไป. หน้าผี น. หน้าตาอัปลักษณ์น่าเกลียดน่ากลัว. หน้าเผือด, หน้าเผือดสี น. หน้าไม่มีสีเลือด. ว. มีสีหน้าแสดงความผิดหวัง หรือตกใจเป็นต้น, หน้าถอดสี ก็ว่า. หน้าพาทย์ น. เรียกเพลงประเภทที่ใช้บรรเลงในการแสดงกิริยาอาการ เคลื่อนไหวของตัวโขนละครเป็นต้น หรือสำหรับอัญเชิญเทพเจ้า ฤๅษี หรือบูรพาจารย์ ให้มาร่วมชุมนุมในพิธีไหว้ครูหรือพิธีมงคลต่าง ๆ เช่น เชิด ใช้ในการเดินทางไกล เสมอ ใช้ในการเดินระยะใกล้ เสมอมาร สำหรับยักษ์เดิน เสมอเถร สำหรับฤๅษีเดิน สาธุการ ใช้ในการเริ่มพิธี ต่าง ๆ ตระเชิญ ใช้อัญเชิญเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ว่า เพลงหน้าพาทย์. ว. ที่เกี่ยวกับเพลงหน้าพาทย์ เช่น รำหน้าพาทย์ บอกหน้าพาทย์. หน้าพาทย์แผลง [-แผฺลง] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่บอกแผลงไปจากชื่อ เดิม ทำให้ผู้บรรเลงปี่พาทย์ต้องใช้ความคิดว่าจะบรรเลงเพลงใด เช่น เพลงนางพญาดำเนิน หมายถึง เพลงช้า เพลงแม่ลูกอ่อนไปตลาด หมายถึง เพลงเร็ว เพลงไม่ได้ไม่เสีย หมายถึง เพลงเสมอ. หน้าไฟ น. เวลาที่จุดไฟเผาศพ เช่น พระสวดหน้าไฟ. หน้ามอด น. หน้าซึ่งมีรอยแผลเป็นปรุ ๆ มักเกิดจากฝีดาษ, หน้าข้าวตัง ก็ว่า. หน้าม่อย ว. มีสีหน้าสลดแสดงว่าเสียใจ เช่น เธอทำหน้าม่อยเพราะรีด เสื้อตัวสวยไหม้. หน้าม้า น. ผู้ที่ทำเล่ห์เหลี่ยมเป็นเหมือนคนซื้อหรือคนเล่นการพนัน เป็นต้น เพื่อเป็นสื่อจูงใจให้คนหลงซื้อหรือหลงเล่นการพนันด้วย, โดยปริยายใช้เรียกคนที่หากินในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น. หน้าม้าน ว. มีสีหน้าเผือดด้วยความละอายจนไม่กล้าสบตาคน. หน้ามืด ว. อาการที่เป็นลมหมดสติ; โดยปริยายหมายถึงมัวเมาจนขาดสติ ทำสิ่งที่ไม่ควรทำ. หน้ามุข น. ส่วนของอาคารที่ยื่นเด่นออกมาทางหน้า. หน้าไม่รับแขก น. หน้าตาที่เฉยเมยคล้ายกับว่าไม่ต้องการต้อนรับใคร อาจเป็นปรกติหรือเป็นบางโอกาสก็ได้. หน้าไม่อาย ว. ที่ไม่รู้สึกกระดากหรือขวยใจ. หน้าไม้ น. วิธีคิดเลขเพื่อให้รู้ว่าไม้มีกี่ยก; เครื่องยิงชนิดหนึ่ง มีคันและ ราง ยิงด้วยลูกหน้าไม้. หน้ายิ้ม ๆ ว. อาการยิ้มน้อย ๆ อย่างมีเลศนัย. หน้ายุ่ง ว. มีสีหน้าว่ามีความยุ่งยากลำบากใจเพราะมีงานมากเสียจนไม่รู้ จะทำอะไรก่อนอะไรหลังเป็นต้น. หน้าระรื่น น. หน้ายิ้มอยู่เสมอ. หน้ารับแขก น. หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสเป็นประจำ. หน้าร่าหุ์, หน้าราหู น. ชื่อลายไทยแบบหนึ่งอยู่ในรูปทรงสี่เหลี่ยมขนม เปียกปูนทำเป็นหน้าอสูรที่ชื่อราหู เช่นตรงกลางพัดยศพระราชาคณะชั้น สามัญหรือที่โล่, หน้าขบ ก็เรียก. หน้าเริด ว. อาการที่แสดงหน้าตาตื่น (ใช้แก่กริยาวิ่ง) เช่น เห็นแม่มา แต่ไกลก็วิ่งหน้าเริดเข้าไปหา,หน้าตั้ง ก็ว่า. หน้าเลือด ว. ชอบแสวงหาประโยชน์โดยวิธีบังคับให้จำยอมเพราะ เห็นแก่ตัว เช่น เขาเป็นเจ้าหนี้หน้าเลือด, หน้าโลหิต ก็ว่า. หน้าวอก น. หน้าของคนที่ผัดแป้งจนขาวเกินไป. หน้าวัว ๑ น. กระเบื้องปูพื้นรูปสี่เหลี่ยม ทำด้วยดินเผา เรียกว่า กระเบื้อง หน้าวัว; กระเบื้องสำหรับมุงหลังคารูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนทำด้วย ปูนซีเมนต์ ทราย และน้ำ เรียกว่า กระเบื้องหน้าวัว กระเบื้องว่าว หรือ กระเบื้องขนมเปียกปูน. หน้าแว่น น. เครื่องโรยขนมจีนเป็นแผ่นกลม ทำด้วยทองเหลืองหรือ ทองแดงเป็นต้นที่เจาะรูทั่วแผ่น เย็บติดไว้ตรงกลางผ้าสี่เหลี่ยมซึ่งเจาะรู ให้พอเหมาะกับแผ่นทองเหลืองหรือทองแดงนั้น, แว่น ก็เรียก, เรียก ขนมปังกรอบที่มีรูปเช่นนั้นว่า ขนมปังหน้าแว่น; ผิวดินที่กระเทาะเป็น แผ่นบาง ๆ. หน้าสว่าง น. หน้าอิ่มเอิบผ่องใสชวนดู, หน้าเปิด ก็ว่า. หน้าสลด น. หน้าแสดงความเศร้าเสียใจ. หน้าสิ่วหน้าขวาน (สำ) ว. อยู่ในระยะอันตรายเพราะอีกฝ่ายหนึ่งกำลัง โกรธหรือมีเหตุการณ์วิกฤตเป็นต้น. หน้าเสีย ว. มีสีหน้าแสดงอาการพิรุธหรือตกใจ เสียใจเป็นต้น เช่น เขา หน้าเสียเพราะถูกจับได้ว่าทำความผิด. หน้าเสี้ยว น. หน้าด้านข้าง (เห็นตา ๒ ข้างและหูข้างเดียว). หน้าหงาย ว. อาการที่หน้าเงยแหงนขึ้น เช่น เขาถูกชกหน้าหงาย; โดย ปริยายหมายถึงอาการที่ถูกว่าย้อนกลับมาจนเสียหน้า เช่น ตั้งใจจะไป ขอยืมเงินเขา เขาบอกว่าหนี้เก่าก็ไม่ได้ชำระยังจะมาขอยืมอีก เลยต้อง หน้าหงายกลับมา; ที่ผิดไปจากที่คาดหวังไว้มาก เช่น เขาคุยว่าสอบเข้า มหาวิทยาลัยได้แน่ ๆ แต่พอประกาศผลแล้วไม่ได้ ก็หน้าหงายกลับมา. หน้าหัก น. หน้าซึ่งมีสันจมูกคล้ายหักเข้าไป. หน้าเหี่ยว น. หน้าที่ไม่เต่งตึง, โดยปริยายหมายความว่า ไม่สมปรารถนา เช่น ขอสตางค์แม่ไม่ได้ก็หน้าเหี่ยวกลับมา. หน้าแหก (ปาก) ว. อาการที่ต้องได้รับความอับอายขายหน้าอย่างยิ่งเพราะ ผิดหวังอย่างมากหรือเพราะถูกโต้ถูกย้อนกลับมาอย่างเถียงไม่ขึ้นเป็นต้น. หน้าแหง [-แหฺง] น. หน้าแสดงความเก้อหรือจนปัญญา. หน้าแห้ง ว. มีสีหน้าไม่แจ่มใสเพราะความทุกข์เช่นผิดหวัง. หน้าใหญ่ใจโต ว. มีใจกว้างใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินตัวเพื่ออวดมั่งมี เช่น เขา ชอบทำหน้าใหญ่ใจโตทั้ง ๆ ที่มีเงินน้อย. หน้าใหม่ ว. ที่เพิ่งเคยเห็นหรือรู้จักกัน เช่น นักร้องหน้าใหม่. หน้าไหว้หลังหลอก (สำ) ว. ต่อหน้าทำเป็นดี แต่พอลับหลังก็นินทาหรือ หาทางทำร้าย, ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก ก็ว่า. หน้าอก น. ส่วนภายนอกของอก, นมของผู้หญิง, อก ก็ว่า. หน้าอ่อน ว. ที่มองดูอายุน้อยกว่าอายุจริง เช่น ผู้หญิงคนนี้อายุมากแล้ว แต่ยังดูหน้าอ่อน, เรียกหมากที่หน้ายังไม่เต็มว่า หมากหน้าอ่อน. หน้าอัด น. หน้าตรง, หน้าเต็ม, หน้าตรงแบน, (ใช้แก่รูปวาด รูปถ่าย หรือเหรียญ). หน้าอินทร์หน้าพรหม น. ผู้มีอำนาจ, ผู้ยิ่งใหญ่, เช่น เขาไม่กลัวหน้าอินทร์ หน้าพรหมใด ๆ ทั้งนั้น.
Thai dictionary (พจนานุกรมไทย). 2014.