- พ่อ
- น. ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูก; คำที่ลูกเรียกชายผู้ให้กำเนิดหรือเลี้ยง;ดูตนคำที่ผู้ใหญ่เรียกผู้ชายที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนม หรือรักใคร่เป็นต้นว่า พ่อนั่น พ่อนี่; คำใช้นำหน้านามเพศชาย แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น พ่อเมือง; ผู้ชายที่กระทำกิจการหรือ งานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า พ่อค้า ทำครัว เรียกว่า พ่อครัว; เรียกสัตว์ตัวผู้ ที่มีลูก เช่น พ่อม้า พ่อวัว. พ่อเกลอ น. เพื่อนร่วมน้ำสบถของพ่อ. พ่อขุน (โบ) น. กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ในสมัยสุโขทัย. พ่อครัว (โบ) น. หัวหน้าครอบครัว. พ่อคุณ ว. คำพูดเอาใจ (ใช้แก่ผู้ชาย). พ่อเจ้า ส. คำเรียกพ่อเมืองหรือเจ้าผู้ครองนคร, เป็นสรรพนามบุรุษ ที่ ๒. พ่อเจ้าประคุณ คำเรียกแสดงความรักใคร่หรือประชดประชัน แล้วแต่น้ำเสียง (ใช้แก่ผู้ชาย) เช่น โถ! พ่อเจ้าประคุณของย่า เจ็บไหม ทำไมไม่นอนที่โรงละครเลยล่ะพ่อเจ้าประคุณ. พ่อแจ้แม่อู (สำ) ว. พันทาง, ต่างพันธุ์กัน. พ่อตา น. พ่อของเมีย. พ่อบ้าน น. ชายที่เป็นหัวหน้าครอบครัว, ชายผู้จัดการงานธุรการ ในสถานที่เช่นโรงพยาบาลเป็นต้น. พ่อพวงมาลัย (สำ) น. ชายที่ปล่อยชีวิตตามสบาย ไม่ยอมตั้งตัว หรือทำการงานเป็นหลักฐาน. พ่อพันธุ์ น. สัตว์ตัวผู้ที่ใช้ผสมพันธุ์. พ่อม่าย น. ชายที่เมียตายหรือหย่ากัน. พ่อเมือง น. ผู้ที่ชาวเมืองยกขึ้นเป็นเจ้าเมือง. พ่อร้าง (ถิ่น) น. ชายผู้เลิกกับเมีย. พ่อเรือน (โบ) น. พลเรือน. พ่อลิ้นทอง (ปาก) น. คนที่พูดดี พูดเก่ง หรือพูดคล่องน่าฟัง. พ่อเล้า (ปาก) น. ผู้ชายผู้เป็นหัวหน้าเลี้ยงหญิงสาวไว้บำเรอชาย. พ่อเลี้ยง น. ผัวของแม่ แต่ไม่ใช่พ่อของตัว; (ถิ่นพายัพ) แพทย์; ชายที่มีฐานะดี. พ่อสื่อ น. ชายที่ทำหน้าที่ชักนำชายหญิงให้พบรู้จักรักใคร่และ แต่งงานกัน, ชายผู้ช่วยเหลือให้คู่รักได้ติดต่อหรือพบปะกัน.
Thai dictionary (พจนานุกรมไทย). 2014.