กฎ

กฎ
[กด] (โบ) ก. จดไว้เป็นหลักฐาน เช่น ให้นายยกกระบัตรกฎปาก
หลากคำไว้. (กฎหมายอายัดทาส), ตรา เช่น ตรัสแก่ขุนศรีภูริปรีชา ให้กฎเป็นตำราไว้. (อัยการเบ็ดเสร็จ), ''พระมหาธรรมราชาก็ตรัส ให้กฎลงมาให้เอาพระยารามเป็นพระยาพิชัย.'' (พงศ. ๑๑๓๖). (เทียบ ข. กต่ ว่า จด). น. คำบังคับ เช่น จึ่งสมเด็จพระมหินทราธิราช เจ้าแผ่นดินก็ตรัสให้ทำตามกฎให้ลงมานั้นทุกประการ. (พ.ศ. ๑๑๓๖); (กฎ) ข้อกำหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องมีการปฏิบัติตาม เช่น กฎกระทรวง กฎหมาย; (วิทยา) ข้อกำหนดในเรื่องธรรมชาติ ตามที่ค้นคว้าได้. (อ. law). กฎกระทรวง (กฎ) น. บทบัญญัติที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงออก โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ หรือบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ที่มีฐานะเท่าพระราชบัญญัติ เป็นต้นว่า ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด, เดิมเรียกว่า กฎเสนาบดี. กฎเกณฑ์ น. ข้อกำหนดที่วางไว้เป็นหลัก, หลักเกณฑ์. กฎข้อบังคับ (กฎ) น. บทบัญญัติที่เป็นชั้นข้อบังคับซึ่งกำหนดขึ้น ไว้เป็นระเบียบในการปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย, ปัจจุบันนิยมใช้ว่า ข้อบังคับ. กฎทบวง (กฎ) น. ข้อบัญญัติที่รัฐมนตรีว่าการทบวงออกโดยอาศัย อำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเช่นเดียวกับกฎกระทรวง. กฎธรรมชาติ น. กฎในเรื่องธรรมชาติ. กฎธรรมดา น. ข้อกำหนดระเบียบการปฏิบัติเนื่องจากธรรมดา วิสัยของมนุษย์และสังคม. กฎบัตร (กฎ) น. ตราสารที่จัดตั้ง จัดระเบียบ และกำหนด อำนาจหน้าที่ขององค์การ. กฎบัตรกฎหมาย (ปาก) น. กระบวนกฎหมาย, เชิงกฎหมาย. กฎบัตรสหประชาชาติ น. ตราสารที่สถาปนาและจัดระเบียบองค์การ ระหว่างประเทศที่เรียกว่า องค์การสหประชาชาติ. กฎมณเฑียรบาล, กฎมณเทียรบาล (โบ) น. กฎมนเทียรบาล. กฎมนเทียรบาล (กฎ) น. ข้อบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับพระราชฐาน พระราชวงศ์ และระเบียบการปกครองในราชสำนัก, โบราณใช้ว่า กฎมณเฑียรบาล หรือ กฎมณเทียรบาล ก็มี. กฎยุทธวินัย (กฎ; เลิก) น. ชื่อย่อของกฎว่าด้วยยุทธวินัย และการลงอาญาทหารบกฐานละเมิดยุทธวินัย. กฎศีลธรรม น. กฎว่าด้วยการกระทำที่ถูกต้องและ ไม่ถูกต้องทางศีลธรรม. กฎเสนาบดี (เลิก) ดู กฎกระทรวง. กฎหมู่ น. อำนาจกดดันที่บุคคลจำนวนมากนำมาใช้บีบบังคับให้อีก ฝ่ายหนึ่งกระทำหรือเว้นกระทำสิ่งที่บุคคลจำนวนนั้นต้องการ (มักไม่เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย). กฎแห่งกรรม น. กฎว่าด้วยกรรมและผลแห่งกรรม ที่ผู้กระทำจักต้องได้รับ. กฎอัยการศึก (กฎ) น. กฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นไว้สำหรับประกาศใช้ เมื่อมีเหตุจำเป็น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เช่น ในกรณีเกิดสงคราม การจลาจล ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจหน้าที่เหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน ในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ์ การระงับปราบปราม หรือการรักษา ความสงบเรียบร้อย และศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษา คดีอาญาบางอย่างที่ประกาศระบุไว้แทนศาลพลเรือน.

Thai dictionary (พจนานุกรมไทย). 2014.

Игры ⚽ Нужна курсовая?

Share the article and excerpts

Direct link
Do a right-click on the link above
and select “Copy Link”