- ขี้
- ก. กิริยาที่ถ่ายกากอาหารออกทางทวารหนัก, ถ่ายอุจจาระ, ราชาศัพท์ว่าลงพระบังคนหนัก. น. กากอาหารที่ร่างกายไม่ต้องการแล้วขับถ่ายออก ทางทวารหนัก, อุจจาระ, สิ่งที่ร่างกายขับถ่ายออกมาเกรอะกรังอยู่ เช่น ขี้ไคล ขี้รังแค ขี้หู ขี้ตา, โดยปริยายหมายความถึงสิ่งที่ไม่ต้องการ เช่น ขี้ตะกั่ว, เศษหรือกากที่ออกมาจากสิ่งนั้น ๆ เช่น ขี้กบ ขี้เลื่อย. ว. ใช้ ประกอบหน้าคำที่แสดงความหมายในทางที่ไม่ดี เช่น ขี้เกียจ ขี้เหนียว, หรือมักเป็นเช่นนั้น เช่น ขี้หัวเราะ ขี้ขอ. ขี้กบ น. เศษไม้ที่ออกมาด้วยการไสกบ. ขี้กระทาเกลือ, ขี้ทา น. ขี้เกลืออันตกกระฉาบทาไปตามพื้นดิน หรือพื้นที่มีเกลือแห้งเกรอะอยู่เป็นกระ. ขี้กลาก น. ชื่อโรคผิวหนังอย่างหนึ่ง มีหลายชนิด เกิดจากเชื้อรา ขึ้นเป็นวง มีอาการคัน, กลาก ก็ว่า. ขี้ก้อนใหญ่ให้เด็กเห็น (สำ) ก. ทำสิ่งที่ไม่สมควรให้ผู้น้อยเห็น. ขี้กะโล้โท้ (ปาก) ว. ไม่ดี, ไม่มีคุณภาพ, เอาเรื่องเอาราวไม่ได้. ขี้ก้าง ๑ น. ขี้ดีบุกที่ถลุงแล้วเอาไปถลุงอีก. ว. ผอมจนเห็นซี่โครง เป็นซี่ ๆ, ผอมเนื้อน้อย. ขี้เกลือ น. คราบเหงื่อที่แห้งกรังจนขึ้นขาว. ขี้เกลื้อน น. ชื่อโรคผิวหนังเกิดจากเชื้อรา Malassezia furfur ขึ้น เป็นดวงขาว ๆ อาจมีอาการคัน, เกลื้อน ก็ว่า. ขี้ข้า น. ทาส, ไพร่. ขี้ครอก ๑ น. ลูกของขี้ข้า, ทาสโดยกำเนิด. ขี้คร้าน ก. เชื่อว่าเป็นเช่นนั้น เช่น พอยอเข้าหน่อยขี้คร้านจะทำให้ทุกอย่าง. ขี้คุก ว. เคยต้องโทษจำคุกมาแล้ว. ขี้เค้า น. ขี้ข้า. ขี้ไคล (ปาก) น. เหงื่อที่ปนกับฝุ่นละอองติดกรังอยู่กับหนังกำพร้า, ไคล ก็ว่า. ขี้จาบ (ปาก) ว. หยาบคาย เช่น ชาติอ้ายขี้จาบปราบเพื่อนบ้าน. (รามเกียรติ์ พลเสพย์). ขี้ซ้าย, ขี้ไซ้ (ปาก) ว. ที่เลวกว่า (ใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่ได้ขี้ไซ้ของเขา. ขี้เซา ว. นอนปลุกให้ตื่นยาก. ขี้เดือด น. ขี้เมฆตามริมขอบฟ้าวิ่งเดือดพลุ่งขึ้นข้างบนซึ่งนัยว่าจะเกิดพายุ. ขี้แดด น. ตะไคร่ที่จับบนผิวโคลนสีเขียว ๆ. ขี้ตา, ขี้ตาเล็น (ปาก) ว. เล็กมาก. ขี้ตืด (ปาก) ว. ตระหนี่, ขี้เหนียว ก็ว่า. ขี้เต่า น. เมือกเหงื่อไคลที่ติดอยู่ตามรักแร้ มีกลิ่นเหม็น. ขี้แต้ น. ดินที่แห้งแข็งเป็นตะปุ่มตะป่ำอยู่ตามทุ่งนา มักอูดขึ้นมา จากรอยกีบเท้าวัวเท้าควาย เรียกว่า หัวขี้แต้. ขี้ไต้ ๑ น. ส่วนของไต้ที่ใช้เป็นเชื้อไฟหรือส่วนของไต้ที่จุดและเขี่ย ให้ร่วงหล่นลง. ขี้ถัง (ปาก) ว. เลวทราม เช่น จงหลีกเลี่ยงเสียให้พ้นคนขี้ถัง. (สุภาษิตสุนทรภู่). ขี้เถ้า น. เถ้า. ขี้ไถ ๑ ดู มูล ๓. ขี้ทูด น. ชื่อโรคเรื้อนชนิดทำให้มือกุดเท้ากุด. ขี้เท่อ ว. ไม่คม, ไม่ฉลาด, เซ่อ. น. ความโง่ เช่น ขยายขี้เท่อ. ขี้เทา น. ขี้ที่ค้างอยู่ในลำไส้เด็กที่คลอดใหม่. ขี้เทือก น. ที่ดินที่ไถและคราดเป็นต้นแล้วทำให้เป็นโคลนเป็นตม เพื่อตกกล้า เช่น ทำขี้เทือกตกกล้า, เทือก ก็ว่า. ขี้ปะติ๋ว ว. เล็กน้อย, ไม่สำคัญ. ขี้ปาก น. คำที่เอาอย่างเขามาพูด; คนสำหรับเขาล้อด่าว่าและติเตียน. ขี้เป้ ว. ไม่ได้เรื่อง เช่น คนขี้เป้ ของขี้เป้. ขี้เป็ด น. ชื่อทรายหรือดินร่วนสีดำคล้ายขี้เป็ด. ขี้ผง ว. เล็กน้อย, ไม่สำคัญ. ขี้ผึ้ง ๑ น. รังผึ้งที่เอามาหุงใช้ในการต่าง ๆ เช่น ทำเทียน ทำสีผึ้ง. ขี้ฝิ่น น. กากของฝิ่นที่สูบแล้ว, คนติดฝิ่น, ขี้ยา ก็เรียก. ขี้แพ้ชวนตี (สำ) ก. แพ้ตามกติกาแล้วยังไม่ยอมรับว่าแพ้จะเอาชนะ ด้วยกำลัง, แพ้แล้วพาล. ขี้ม้า ๑ ว. เรียกสีกากีแกมเขียวว่า สีขี้ม้า. ขี้มูก น. น้ำเมือกที่ไหลออกทางจมูก. ขี้เมฆ (ปาก) น. เมฆ. ขี้แมลงวัน น. จุดดำเล็ก ๆ ที่ขึ้นตามร่างกาย, ราชาศัพท์ว่า พระปิลกะ. ขี้แมว ๑ น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งในพวกจันอับ. ขี้ไม่ให้หมากิน (สำ) ก. ขี้เหนียว, ตระหนี่เหนียวแน่น. ขี้ยา น. กากของฝิ่นที่สูบแล้ว, คนติดฝิ่น, ขี้ฝิ่น ก็เรียก. ว. ติดฝิ่น. ขี้แย ว. มักร้องไห้บ่อย ๆ, ใจน้อย. ขี้รังแค น. ขุยหนังหัว มีลักษณะเป็นผง ๆ สีขาว, ขี้ลม หรือ รังแค ก็เรียก. ขี้ราดโทษล่อง (สำ) ก. ทำผิดเอง แล้วกลับโทษผู้อื่น. ขี้ริ้ว น. เรียกผ้าเก่าที่ใช้เช็ดถูเป็นต้น. ว. ไม่สวย, ไม่งาม, บางทีใช้ เข้าคู่กับคำ ขี้เหร่ เป็น ขี้ริ้วขี้เหร่. ขี้เรื้อน น. เรื้อน. (ปาก) ว. ไม่มีคุณค่า เช่น คนขี้เรื้อน ของขี้เรื้อน. ขี้เรื้อนกวาง น. ชื่อโรคผิวหนังเรื้อรังชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นผื่นคัน ทำให้ผิวหนังหนา หยาบ และอาจแตกมีน้ำเหลืองไหลหรือตกสะเก็ด ในระยะหลัง มักเป็นตามบริเวณข้อเท้า หัวเข่า หรือบริเวณที่ที่มือ เอื้อมไปเกาถึง. ขี้ลม ๑ น. ขุยหนังหัว มีลักษณะเป็นผง ๆ สีขาว, ขี้รังแค หรือ รังแค ก็เรียก. ขี้ลอก (ปาก) น. ดินที่ลอกขึ้นมาจากท้องร่อง. ขี้ลีบ (ปาก) น. ข้าวลีบ เช่น ชาวนาคัดเอาขี้ลีบออก. ขี้เล็บ (ปาก) ว. ใช้เปรียบของที่เล็กน้อย. ขี้โล้ น. เรียกน้ำมันที่เป็นขี้ตะกอนว่า น้ำมันขี้โล้; กะทิที่เคี่ยวจนเป็น น้ำมันใช้ทำอาหารบางอย่าง. ขี้หดตดหาย (ปาก) ว. ใช้เป็นสำนวนประกอบคำ กลัว ว่า กลัวจน ขี้หดตดหาย หมายความว่า กลัวมาก. ขี้หมา น. ก้อนขี้หมา, หัวขี้หมา ก็เรียก. (ดู ก้อนขี้หมา ที่ก้อน). (ปาก) ว. ไม่มีคุณค่า, ไร้สาระ, เช่น เรื่องขี้หมา ของขี้หมา. ขี้หมูขี้หมา (ปาก) ว. ไร้สาระ, ไม่สำคัญ, ไม่มีค่า, ไม่มีราคา. ขี้หมูราขี้หมาแห้ง ว. ไร้สาระ, ไร้ประโยชน์, เช่น เรื่องขี้หมูราขี้หมาแห้ง. ขี้เหนียว ว. ตระหนี่, ขี้ตืด ก็ว่า. ขี้เหร่ ว. ไม่สวย, ไม่งาม, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ขี้ริ้ว เป็น ขี้ริ้วขี้เหร่. ขี้ใหม่หมาหอม (ปาก) ก. เห่อของใหม่.
Thai dictionary (พจนานุกรมไทย). 2014.