กรรม\-

กรรม\-
[กำ, กำมะ-] น. (๑) การ, การกระทำ, การงาน, กิจ, เช่น พลีกรรม ต่างกรรมต่างวาระ, เป็นการดีก็ได้ ชั่วก็ได้ เช่น กุศลกรรม อกุศลกรรม. (๒) การกระทำที่ส่งผลร้ายมา ยังปัจจุบัน หรือซึ่งจะส่งผลร้ายต่อไปในอนาคต เช่น บัดนี้ กรรมตามทันแล้ว ระวังกรรมจะตามทันนะ. (๓) บาป, เคราะห์, เช่น คนมีกรรม กรรมของฉันแท้ ๆ. (๔) ความตาย ในคำว่า ถึงแก่กรรม. กรรมกร [กำมะกอน] น. คนงาน, ลูกจ้างที่ใช้แรงงาน. (ส. กฺรม = การงาน + กร = ผู้ทำ; ป. กมฺม + กร). กรรมกรณ์ [กำมะกอน] น. อาญา, เครื่องสำหรับลงอาญา. ก. ลงโทษ เช่น สามซ้ำควรกรรมกรณ์ นุกิจราชอาชญา. (กฤษณา). (ส. กรฺม + กรณ = การกระทำ; ป. กมฺม + กรณ). กรรมการ ๑ [กำมะกาน] น. บุคคลที่ได้รับเลือกหรือได้รับแต่งตั้ง เข้าเป็นคณะร่วมกันทำงานหรือกระทำกิจการบางอย่างซึ่งได้รับ มอบหมาย, เมื่อรวมกันเป็นคณะ เรียกว่า คณะกรรมการ เช่น คณะกรรมการกฤษฎีกา. (ส. กรฺม + การ; ป. กมฺม + การ). กรรมการ ๒ (โบ; กลอน) น. ผู้รับใช้ เช่น ข้าขอภักดีภูบาล เป็นทาสกรรมการ ไปกว่าจะสิ้นสุดสกนธ์. (เสือโค). กรรมการิณี [กำมะ-] น. กรรมการซึ่งเป็นเพศหญิง. (ส. กรฺม + การิณี). กรรมขัย [กำมะไข] (โบ) น. การสิ้นอายุเพราะกรรม เช่น อันว่า อายุสม์ยังมิควรตายแลมาตายดั่งนั้นชื่อว่ากรรมขัยแล. (ไตรภูมิ). (ส. กรฺม + ป. ขย). กรรมคติ [กำมะคะติ] น. ทางดำเนินแห่งกรรม. (ส. กรฺม + ส., ป. คติ ว่า ที่ไป). กรรมชรูป [กำมะชะรูบ] น. รูปของคนและสัตว์. (ส.; ป. กมฺมชรูป ว่า รูปที่เกิดแต่กรรม). กรรมชวาต [กำมะชะวาด] น. ลมเกิดแต่กรรม คือ ลมเกิดในครรภ์ เวลาคลอดบุตร ได้แก่ ลมเบ่ง เช่น พอถึงพระหัตถ์พระราชเทวีก็ทรง จับเอากิ่งรัง พอเกิดลมกรรมชวาตหวั่นไหวประชวรพระครรภ์. (ปฐมสมโพธิกถา). (สฺ กรฺม + ช = เกิด + วาต = ลม). กรรมฐาน [กำมะถาน] น. ที่ตั้งแห่งการงาน หมายเอาอุบาย ทางใจ มี ๒ ประการ คือ สมถกรรมฐาน เป็นอุบายสงบใจ และ วิปัสสนา กรรมฐาน เป็นอุบายเรืองปัญญา. (ส.; ป. กมฺมฏฺ?าน). กรรมบถ [กำมะบด] น. ทางแห่งกรรม มี ๒ อย่างตามลักษณะ คือ กุศลกรรมบถและอกุศลกรรมบถ.(ส. กรฺม + ปถ = ทาง; ป. กมฺมปถ). กรรมพันธุ์ [กำมะพัน] ว. มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ คือ เกี่ยวเนื่องด้วย กรรมของตนเอง. น. ลักษณะ นิสัย ตลอดจนโรคหรือความวิกล วิการบางอย่างที่ลูกหลานสืบมาจากบรรพบุรุษ ปู่ย่าตายาย หรือ พ่อแม่, พันธุกรรม ก็ว่า. (ส. กรฺม + พนฺธุ; ป. กมฺมพนฺธุ = ''มีกรรม เป็นเผ่าพันธุ์'' เกี่ยวเนื่องด้วยกรรมของตนเอง). กรรมวาจา [กำมะ-] น. คำประกาศกิจการในท่ามกลางสงฆ์. (สฺ กรฺม + วาจา = คำ; ป. กมฺม + วาจา). กรรมวาจาจารย์ [กำมะวาจาจาน] น. อาจารย์ผู้ให้สำเร็จกรรมวาจา คือ คู่สวด. (ส. กรฺมวาจา + อาจารฺย = อาจารย์). กรรมวิธี [กำมะวิที] น. ลักษณะอาการหรือวิธีการที่ผันแปรหรือ เปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติหรือที่มนุษย์ทำขึ้นอันดำเนินติดต่อ กันเรื่อยไปเป็นลำดับ, กระบวนวิธีดำเนินการในประดิษฐกรรม. กรรมวิบาก [กำมะวิบาก] น. ผลของกรรม. (ส. กรฺม + วิปาก = ผล; ป. กมฺม + วิปาก). กรรมเวร [กำเวน] น. การกระทำที่สนองผลร้ายซึ่งทำไว้แต่ปาง ก่อน; คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมใน อดีต เช่น อายุตั้ง ๗๐ ปีแล้วยังต้องมาหาบขนมขายอีก กรรมเวร แท้ ๆ, เวร หรือ เวรกรรม ก็ว่า. กรรมศาลา [กำมะ-] น. โรงงาน. (ส. กรฺม + ศาลา = โรง). กรรมสัมปาทิก [กำมะสำปาทิก] น. ผู้ยังการงานให้ถึงพร้อม; (กฎ; เลิก) บุคคลที่ได้รับเลือกหรือแต่งตั้งให้ทำหน้าที่กรรมการ ของสมาคม. (ส. กรฺม + สมฺปาทิก = ผู้ให้ถึงพร้อม). กรรมสิทธิ์ [กำมะสิด] น. ความเป็นเจ้าของทรัพย์; (กฎ) สิทธิ ทั้งปวงที่ผู้เป็นเจ้าของมีอยู่เหนือทรัพย์สิน อันได้แก่ สิทธิใช้สอย จำหน่าย ได้ดอกผล กับทั้งสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สิน ของตน และสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน นั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย. (ส. กรฺม + สิทฺธิ = ความสำเร็จ; ป. กมฺมสิทฺธิ). กรรมสิทธิ์รวม (กฎ) น. กรรมสิทธิ์ของบุคคลหลายคนร่วมกัน ในทรัพย์สินอันใดอันหนึ่ง. [กำ, กำมะ-] (ไว) น. ผู้ถูกกระทำ เช่น คนกินข้าว ข้าว เป็นกรรม ของกริยา กิน. กรรมการก [กำมะ-] (ไว) น. ผู้ถูกทำ เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่ง ใน ๓ ส่วนของประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตำรวจยิงผู้ร้าย ผู้ร้าย เป็น กรรมการก ถ้าต้องการให้ผู้ถูกทำเด่น ก็เรียงเป็นภาค ประธานของประโยค เช่น ผู้ร้ายถูกตำรวจยิง. กรรมวาจก [กำมะ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นกรรมการก หรือผู้ถูกทำ, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทำหน้าที่เป็น กรรมการก คือ ผู้ถูกทำ, กริยาของประโยคกรรมวาจกต้องใช้ สกรรมกริยา คือ กริยาที่ต้องมีกรรมรับ บางทีก็มีกริยานุเคราะห์ ''ถูก'' นำ และใช้หมายไปในทางไม่ดี เช่น เด็กถูกตี ผู้ทำความผิด ถูกลงโทษ, แต่บางทีก็ไม่ปรากฏกริยานุเคราะห์ ''ถูก'' เช่น หนังสือ เล่มนี้แต่งดีมาก.

Thai dictionary (พจนานุกรมไทย). 2014.

Игры ⚽ Нужен реферат?

Look at other dictionaries:

  • Ahingsa-Jikko mee gam — Infobox Film name = Ahingsa Jikko mee gam caption = The Thai movie poster. director = Kittikorn Liasirikun producer = Kittikorn Liasirikun writer = Leo Kittikorn starring = Boriwat Yuto Theeradanai Suwannahom Johnny Unwa music = Zan Sab… …   Wikipedia

  • Amphoe Pak Phli — Infobox Amphoe name=Pak Phli thai=ปากพลี province=Nakhon Nayok coordinates=coord|14|9|48|N|101|16|7|E|type:adm2nd region:TH area=519.1 population=24,411 population as of=2005 density=47.0 postal code=26130 geocode=2602Pak Phli ( th. ปากพลี) is a… …   Wikipedia

  • Sunset at Chaophraya — Infobox Film name = Sunset at Chaophraya caption = The 1998 videotape release. director = Euthana Mukdasanit producer = writer = Wanich Jarunggidanan (screenplay) Thommayanti (novel) narrator = starring = Bird McIntyre Apasiri Nitibhon music =… …   Wikipedia

  • Amphoe Pak Phli — Pak Phli ปากพลี Provinz: Nakhon Nayok Fläche: 519,1 km² Einwohner: 25.420 (2000) Bev.dichte: 49,0 E./km² PLZ: 26130 …   Deutsch Wikipedia

  • Pak Phli — ปากพลี Provinz: Nakhon Nayok Fläche: 519,1 km² Einwohner: 25.420 (2000) Bev.dichte: 49,0 E./km² PLZ: 26130 …   Deutsch Wikipedia

  • D2B (band) — D2B Background information Birth name D2B Origin Thailand …   Wikipedia

  • Glossary of Buddhism — Several Buddhist terms and concepts lack direct translations into English that cover the breadth of the original term. Below are given a number of important Buddhist terms, short definitions, and the languages in which they appear. In this list,… …   Wikipedia

  • Worrawech Danuwong — Worrawech Danuwong, conocido también como Dan. Es un famoso cantante tailandés miembro de unas de las bandas más populares D2B , nació el 16 de mayo de 1984 en Suphan Buri, Tailandia. Incluye otros dos miembros, Kawee Tanjararak (Manga) y… …   Wikipedia Español

  • Thongchai McIntyre — (Thai: ธงไชย แมคอินไตย์; * 8. Dezember 1958 in Bangkok als Albert Thongchai McIntyre) ist ein thailändischer Sänger und Schauspieler. Er ist auch als Bird Thongchai, Bird McIntyre, Pi Bird (älterer Bruder Bird) oder einfa …   Deutsch Wikipedia

Share the article and excerpts

Direct link
Do a right-click on the link above
and select “Copy Link”