- แก้
- ๑น. ชื่อเบี้ยตัวโต ๆ สำหรับขัดผ้านุ่งให้ผิวเป็นมัน เช่น ผ้าลาย เรียกว่า เบี้ยอีแก้ หรือ เบี้ยแก้ใหญ่. (ดู เบี้ยแก้ ประกอบ). ๒ ก. ทำให้คลายจากลักษณะที่แน่นที่ติดขัดหรือที่เป็นเงื่อนเป็นปมอยู่ เช่น แก้ปม แก้เงื่อน; ทำให้หลุดให้พ้นไป เช่น แก้คดี; ทำให้ดีขึ้น, ทำให้ใช้การได้, ทำส่วนที่เสียให้คืนดีอย่างเดิม, ดัดแปลงให้ดีขึ้น, เช่น แก้นาฬิกา แก้เครื่องจักร, แก้ไข ก็ว่า; ทำให้หาย เช่น แก้เก้อ แก้ขวย แก้จน แก้โรค; เฉลย, อธิบายให้เข้าใจ, เช่น แก้ปัญหา แก้กระทู้; ร้องเพลงหรือลำตัดเป็นต้นโต้ตอบกัน; เอากลับคืนมาให้ได้ เช่น ไปตีแก้เอาเมืองคืน. แก้เกี้ยว ก. แก้อย่างย้อนรอยให้หายกัน เช่น พูดแก้เกี้ยว ฟ้องแก้เกี้ยว. แก้ขวย, แก้เขิน ก. กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อบรรเทาความกระดากอาย. แก้ขัด ก. แก้ข้อขัดข้องให้ลุล่วงไปชั่วคราว. แก้ไข ก. ทำส่วนที่เสียให้คืนดีอย่างเดิม, ดัดแปลงให้ดีขึ้น, แก้ ก็ว่า. แก้เคล็ด ก. กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งที่เชื่อกันว่าเป็นวิธีปัดเป่าหรือ ป้องกันภัยหรือเหตุร้ายที่จะมีมา. แก้แค้น ก. ทำตอบด้วยความแค้นหรือเพื่อให้หายแค้น. แก้เชิง ก. ใช้เล่ห์เหลี่ยม ชั้นเชิง หรือ อุบาย หักล้างเล่ห์เหลี่ยม ชั้นเชิง หรืออุบายของอีกฝ่ายหนึ่ง. แก้ตก ก. แก้ให้สำเร็จลุล่วงไปได้. แก้ตัว ก. พูดหรือทำเพื่อปลดเปลื้องความผิดหรือข้อผิดพลาดของตน. แก้ต่าง (กฎ) ก. ว่าความแทนจำเลย, ใช้คู่กับ ว่าต่าง ซึ่งหมายถึง ว่าความแทนโจทก์. แก้ที ก. แก้ตาเดิน (ใช้แก่การเล่นหมากรุก). แก้โทษ ก. ลุแก่โทษ. แก้บน ก. เซ่นสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามที่ตนได้บนบานไว้, ใช้บน ก็ว่า. แก้บาป ก. สารภาพความผิดเพื่อให้พ้นบาป. แก้ผ้า ก. เอาผ้าที่นุ่งอยู่ออกจากตัว, เปลือยกายไม่นุ่งผ้า, เช่น เด็กนอนแก้ผ้า เด็กแก้ผ้าวิ่งโทง ๆ. แก้เผ็ด ก. ทำตอบแก่ผู้ที่เคยทำความเจ็บปวดให้แก่ตัวไว้เพื่อให้สาสมกัน. แก้ฝัน ก. เล่าฝันให้ผู้อื่นทำนาย, ทำนายฝัน. แก้ฟ้อง (กฎ) ก. แก้ไขคำฟ้องตามที่ศาลสั่งในกรณีที่ คำฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย; ยื่นคำให้การเป็นข้อ ต่อสู้คดีเพื่อแก้คำฟ้อง. แก้มือ ก. ขอสู้ใหม่, ทำสิ่งที่เสียแล้วเพื่อให้ดีขึ้น. แก้ลำ ก. ใช้ชั้นเชิงตอบโต้ให้เท่าเทียมกันหรือหนักมือขึ้น. แก้หน้า ก. ทำให้พ้นอาย.
Thai dictionary (พจนานุกรมไทย). 2014.