- เข้า
- ๑ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างในหรือทำให้เคลื่อนไปข้างใน เช่น เข้าบ้าน เข้าถ้ำ เอาหนังสือเข้าตู้; เคลื่อนมาสู่ที่, มาถึง, เช่น รถด่วนเข้า ๑๐ โมง; ใส่, บรรจุ, เช่น เข้าหีบ; ประสม, แทรก, เช่น เข้ายาดำ; รวม เช่น เข้าหุ้น เข้าทุน; รวม เป็นพวก เช่น เข้าพรรค เข้าแถว เข้าข้าง; ถูกกัน, ลงรอยกัน, ทำให้ลงรอยกัน, เหมาะเจาะ, เช่น เสียงเข้ากัน สีเข้ากัน เข้าไม้; เคลื่อนมาสู่ เช่น พระศุกร์เข้า; สิง เช่น เจ้าเข้า ผีเข้า; เริ่ม เช่น เข้าเรียน, เริ่มทำงาน เช่น โรงเรียนเข้า; เริ่มอยู่ ในภาวะ เช่น เข้าโรงเรียน เข้าทำงาน. ว. ตรงข้ามกับ ออก เช่น ทางเข้า ขาเข้า; ใช้ประกอบคำอื่นแสดงความหมายเร่งรัดหรือเน้นความว่า มากขึ้น เช่น เร็วเข้า คิดเข้า หนักเข้า ดึกเข้า นานเข้า. เข้ากรรม (ถิ่น-อีสาน) ก. อยู่ไฟ. เข้ากระโจม ก. เข้าไปอยู่ในผ้าที่ทำเป็นกระโจมเพื่ออบให้เหงื่อออก, เข้าไปอบควันยาในกระโจม. เข้ากระดูกดำ ว. ติดแน่นจนถอนไม่ขึ้นหรือไม่รู้ลืม. เข้าเกณฑ์ ก. เข้าหลักที่กำหนดไว้ เช่น อายุเข้าเกณฑ์. เข้าเกียร์ ก. ผลักคันเกียร์ให้เข้าที่เพื่อเปลี่ยนระดับความเร็วของเครื่องยนต์. เข้าโกศ ก. บรรจุศพลงในโกศ, ลงโกศ ก็ว่า. เข้าข้อ น. อาการของโรคชนิดหนึ่งให้เมื่อยขัดอยู่ในข้อ; กามโรคที่ เรื้อรังมาจนถึงทำให้ปวดตามข้อกระดูก, มักใช้เข้าคู่กับคำ ออกดอก เป็น เข้าข้อออกดอก. เข้าขา ว. สอดคล้องกัน, ไปกันได้ดี, เช่น นักเทนนิสคู่นี้เล่นเข้าขากันได้ดี. เข้าข้าง ก. เข้าเป็นฝ่าย. เข้าคอ ก. ประพฤติให้ถูกใจกันได้, มีความประพฤติถูกกัน, ไม่ขัดคอกัน. เข้าคิว ก. เข้าแถวตามลำดับมาก่อนมาหลัง. เข้าคู่ ก. เอาไพ่ตอง ๒ ใบที่เหมือนกันมาเข้าชุดกันเป็น ๑ คู่; ไปด้วยกัน ได้อย่างดี. เข้าเครื่อง ก. สวมใส่เครื่องแต่งตัวโขน ละคร ลิเกตัวสำคัญ ๆ; คำพูด สำหรับว่าว หมายความว่า ผูกเหนียง ผูกติ่ง, ถ้าสายป่านของว่าวปักเป้า ตรงช่วงสายเหนียงติดเครื่อง คือ ติดเหนียงและติ่ง เรียกว่า เหนียง เข้าเครื่อง, ถ้าสายป่านของว่าวจุฬาติดจำปา เรียกว่า ป่านเข้าเครื่อง. เข้าเค้า ก. เหมาะกับรูปร่าง เค้าหน้า หรือ กิริยาท่าทาง, เหมาะกับ เรื่องราวหรือเหตุผล. เข้าไคล ก. ลักษณะมะม่วงที่แก่มีนวล มีเมล็ดแข็ง, โดยปริยาย หมายความว่า จวนจะรู้ผล, ใกล้จะสำเร็จ. เข้าเงียบ ก. ประพฤติสงบจิตใจอยู่ในที่สงัดตามลัทธิคริสต์ศาสนา. เข้าแง่ ก. ถูกที่เหมาะ, ถูกที่สำคัญ. เข้าเจ้า ก. ทำพิธีให้เจ้ามาสิงในกาย, ตัวผู้ทำพิธีให้เจ้ามาสิงนั้น เรียกว่า ``คนทรง'', มักใช้เข้าคู่กับคำ เข้าทรง เป็น เข้าเจ้าเข้าทรง. เข้าเจ้าเข้านาย ก. รู้จักธรรมเนียมเข้าเฝ้าเจ้านาย และเข้าไปหาผู้หลัก ผู้ใหญ่อย่างเหมาะสม. เข้าใจ ก. รู้เรื่อง, รู้ความหมาย. เข้าชื่อ ก. ลงชื่อร่วมกันหลาย ๆ คน เพื่อร้องเรียนหรือแสดงความจำนง. เข้าฌาน ก. ทำใจให้สงบตามหลักทางศาสนา, โดยปริยายหมายถึง นั่งหลับหรือนั่งเหม่อใจลอยไม่รับรู้อะไร. (ดู ฌาน). เข้าด้ายเข้าเข็ม (สำ) ว. จวนจะสำเร็จ ถ้าทำผิดพลาดหรือมีอะไรมา ขัดจังหวะแม้เพียงเล็กน้อยก็เสียการ. เข้าเดือย ก. นำไม้ ๒ อัน โดยอันหนึ่งทำให้เป็นเดือย อีกอันหนึ่งเจาะรู ให้พอเหมาะกัน มาประกบให้ประสานกันพอดี. เข้าตรีทูต ว. มีอาการหมดความรู้สึกเมื่อใกล้จะตาย, อาการหนักปางตาย. เข้าตอง ก. เอาไพ่ตอง ๓ ใบที่เหมือนกันมาเข้าชุดกันเป็น ๑ ตอง. เข้าตัว ก. อาการที่อาคม ของขลัง หรือถ้อยคำที่ปรารถนาจะกระทำหรือ พูดให้ร้ายแก่ผู้อื่น แล้วย้อนกลับมาโดนตัวเอง, ไม่พ้นตัว เช่น พูดเข้าตัว. เข้าตา ก. เห็นว่าดีและพอใจ เช่น เข้าตากรรมการ. เข้าตาจน ก. หมดทางไป, หมดทางที่จะแก้ไข, หมดหนทางหากิน. (มาจากภาษาหมากรุก). เข้าตามตรอกออกตามประตู (สำ) ก. ทำตามธรรมเนียมในเรื่องการสู่ขอ. เข้าตาร้าย ก. ถึงคราวเดือดร้อน. เข้าตำรา ก. ถูกแบบแผน, ตรงตามแบบอย่างที่เคยมีมา, ถูกกับเรื่องราว ที่เคยเล่ากันมา. เข้าตู้ (ปาก) ก. ลืมวิชาความรู้ที่ได้เรียนมา ใช้พูดว่า ``วิชาเข้าตู้'' ซึ่ง หมายความว่า วิชาที่เคยจำได้นั้นบัดนี้ลืมหมดแล้ว ยังคงอยู่แต่ใน ตำราที่เก็บไว้ในตู้. เข้าไต้เข้าไฟ ว. เริ่มมืดต้องใช้แสงไฟ, พลบ, ใช้ว่า เวลาเข้าไต้เข้าไฟ. เข้าถ้ำ น. ชื่อตะเข็บเย็บผ้าชนิดหนึ่ง ซึ่งเย็บซ่อนตะเข็บไว้ข้างใน. เข้าถึง ก. เข้าใจอย่างซาบซึ้ง เช่น เข้าถึงบท เข้าถึงวรรณคดี, เข้าใกล้ชิด สนิทสนมเพื่อจะได้รู้ซึ้งถึงชีวิตจิตใจและความต้องการเป็นต้น เช่น เข้าถึงประชาชน. เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า (สำ) ก. ให้มีความรอบคอบอย่าประมาท เช่นเดียว กับเวลาจะเข้าป่าจะต้องหามีดติดตัวไปด้วย. เข้าทรง ก. อาการที่เจ้าเข้าสิงในตัวคนทรง, มักใช้เข้าคู่กับคำ เข้าเจ้า เป็น เข้าเจ้าเข้าทรง. เข้าท่า ก. มีท่าทางดี, น่าดูไม่ขัดตา, เหมาะสม. เข้าทาง ก. ตรงตามที่ต้องการ, ตรงตามที่ถนัด. เข้าที ก. มีท่วงทีดี, มีชั้นเชิงดี, มีท่าทีจะสำเร็จ. เข้าที่ ก. นั่งภาวนากรรมฐาน (ทางพระศาสนา); กลับเหมือนเดิม เช่น ซ้อมจนเข้าที่; นอน ใช้ในราชาศัพท์ พูดเต็มว่า เข้าที่บรรทม. เข้าที่เข้าทาง ก. จัดให้เป็นระเบียบ, จัดให้เรียบร้อย, เช่น จัดข้าวของ ให้เข้าที่เข้าทาง. เข้าทุน ก. รวมทุนกันเพื่อทำกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง. เข้านอกออกใน ก. สนิทสนมกับเจ้าของสถานที่เป็นพิเศษ จนสามารถ เข้าไปถึงข้างในได้ตลอดเวลา. เข้าเนื้อ ก. ขาดทุน, เสียทรัพย์ไป; เสียหาย, เสียเปรียบ, เช่น พูดให้เข้าเนื้อ; เข้าเลือด หรือ เข้าเลือดเข้าเนื้อ ก็ว่า. เข้าแบบ, เข้าแบบเข้าแผน ก. ถูกต้องตามแบบแผน, เป็นไปตามแบบ เช่น ตัวละครเข้าแบบ. เข้าปก ก. เย็บปกหนังสือ. เข้าปริวาส, เข้าปริวาสกรรม ก. เข้าปฏิบัติปริวาสกรรมให้ครบตามวัน ที่กำหนด (ใช้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส), อยู่กรรม หรือ อยู่ปริวาส ก็ว่า. เข้าปากไม้ ก. นำไม้ตั้งแต่ ๒ ชิ้นมาบากหรือเจาะตรงปลายแล้วประกอบ เข้าด้วยกัน ใช้ลูกสลักไม้หรือปลิงเหล็กยึดปลายนั้นให้แน่น. เข้าปิ้ง ก. อาการที่ว่าวปักเป้าติดสายป่านว่าวจุฬาแล้วกระดิกไม่ไหว; อยู่ใน ความลำบากแก้ไขยาก, (ปาก) ถูกจับกุมคุมขัง, เข้าข่ายมีความผิดไปด้วย. เข้าปีก ก. อาการที่เอาต้นแขนของคนเมาเป็นต้นขึ้นพาดบ่าพยุงไป. เข้าไป ว. ใช้ประกอบกิริยาแสดงการหนุนให้ทำ เช่น เตะเข้าไป กินเข้าไป. เข้าผี ก. ทำพิธีให้ผีเข้าสิงในตัว. เข้าผู้เข้าคน ก. ติดต่อกับคนอื่น ๆ ได้ดี. เข้าฝัก ก. ชำนาญจนอยู่ตัวแล้ว. เข้าฝัน ก. มาบันดาลให้ฝันเห็น. เข้าเฝ้า ก. ไปหาเจ้านาย. เข้าเฝือก ก. เอาเฝือกประกับแขนหรือขาเป็นต้นที่เดาะหักเพื่อให้ปรกติ. เข้าพกเข้าห่อ ก. เอาไว้เป็นส่วนของตัว, รู้จักเก็บไว้บ้าง, รู้จักเก็บ ไม่ใช้สุรุ่ยสุร่าย. เข้าพรรษา น. เรียกวันที่พระสงฆ์เริ่มเข้าจำพรรษา คือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ว่า วันเข้าพรรษา. ก. เข้าอยู่ประจำที่ ๓ เดือนในฤดูฝน (ใช้แก่พระสงฆ์). เข้าพระเข้านาง ก. แสดงบทเกี้ยวพาราสี. เข้าพุง (ปาก) ก. (โบ) จำได้แม่นยำจนไม่ต้องอาศัยตำราสอบทาน; ใช้ในความว่า ลืมความรู้ที่ได้เล่าเรียนมาหมด ก็มี. เข้าม่าน น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. เข้ามุม ก. นำไม้ ๒ ชิ้นมาประกอบเป็นมุม โดยตกแต่งอันหนึ่งให้เป็น เดือยรูปสามเหลี่ยม ๒ เดือย ส่วนอีกอันหนึ่งเจาะให้เป็นช่องรูปสามเหลี่ยม ๒ ช่อง มีขนาดพอที่จะสวมกันได้สนิท. เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม (สำ) ก. ประพฤติตนตามที่คนส่วนใหญ่ประพฤติกัน. เข้าไม้ ก. นำไม้ตั้งแต่ ๒ ชิ้นขึ้นไปมาบากรับแล้วประกอบเข้าด้วยกัน ยึดไม้นั้นให้แน่นอยู่ในรูปแบบที่ต้องการด้วยการตอกตะปูหรือตอกอัด ด้วยลูกสลักไม้ การต่อหรือประกอบอาจทำได้หลายวิธี. เข้ายา ก. เป็นประโยชน์, ใช้การได้, เปรียบกับวัตถุหรือพืชที่ทำยาได้. เข้ารกเข้าพง (สำ) ก. พูดหรือทำไม่ถูกต้องกับเรื่อง เพราะขาดความ ชำนาญในเรื่องนั้น. เข้ารหัส ก. เปลี่ยนสารธรรมดาให้เป็นสารลับด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง เช่น เปลี่ยนตัวอักษรอื่นแทนอักษรที่ต้องการจะใช้ หรือสลับตำแหน่งอักษร ของข้อความนั้น หรือใช้สัญลักษณ์แทนซึ่งรู้กันเฉพาะผู้ที่รู้กุญแจรหัสเท่านั้น. เข้าร่องเข้ารอย, เข้ารอย ว. ถูกทาง. เข้ารอบ ก. เข้าเกณฑ์ที่กำหนดไว้, ได้รับคัดเลือกไว้. เข้ารางลิ้น ก. นำไม้อันหนึ่งที่ทำให้เป็นร่องยาวมาประกบกับไม้อีกอันหนึ่ง ที่ทำให้เป็นลิ้นยาวไปตามตัวไม้ให้เข้ากันสนิทพอดี, พูดสั้น ๆ ว่า เข้าลิ้น. เข้าร้าย (โบ) ก. ตกอยู่ในฐานะไม่ดี. เข้ารีต ว. เปลี่ยนไปถือศาสนาอื่น. น. เรียกผู้เปลี่ยนไปถือคริสต์ศาสนา ส่วนใหญ่เป็นนิกายโรมันคาทอลิกว่า ผู้เข้ารีต เช่น ญวนเข้ารีต. เข้ารูป ก. พอเหมาะ, พอดีตัว, เช่น เสื้อเข้ารูป. เข้ารูปเข้ารอย ก. ถูกกับแบบแผน. เข้าเรื่อง ว. ตรงประเด็นของเรื่อง; มีสาระ, ได้เรื่องได้ราว; มักใช้ใน ความปฏิเสธ เช่น พูดไม่เข้าเรื่อง ทำไม่เข้าเรื่อง. เข้าโรง ก. กลับเข้าไปหลังฉากเมื่อตัวละครแสดงจบบทแล้ว. เข้าล็อก ก. เป็นไปตามที่คาดหมาย. เข้าลิ้น ก. นำไม้อันหนึ่งที่ทำให้เป็นร่องยาวมาประกบกับไม้อีกอันหนึ่ง ที่ทำให้เป็นลิ้นยาวไปตามตัวไม้ให้เข้ากันสนิทพอดี, พูดเต็มว่า เข้ารางลิ้น. เข้าลิลิต ก. สัมผัสคำระหว่างบทตามแบบการแต่งลิลิตที่กำหนดไว้ใน ตำราฉันทลักษณ์ เช่นคำ ``สม'' กับ ''สนม'' ในตัวอย่างต่อไปนี้ จำใจจรจากสร้อย อยู่แม่อย่าละห้อย ห่อนช้าคืนสม แม่แลฯ สามสนมสนองนารถไท้ ทูลสาร พระจักจรจากสถาน ถิ่นท้าว เสด็จแดนทุระกันดาร ใดราช เสนอนา ฤๅพระรานเสน่ห์ร้าว ด่วนร้างแรมไฉนฯ (ตะเลงพ่าย).; เรียกคำที่เติม เอศ ข้างท้าย เพื่อทำคำสุภาพให้เป็นคำเอกตามข้อบังคับโคลงว่า ศ เข้าลิลิต. เข้าเล่ม ก. เรียงหน้าหนังสือให้เป็นลำดับเพื่อเย็บเป็นเล่ม เรียกว่า เข้าเล่มหนังสือ. เข้าเลือด, เข้าเลือดเข้าเนื้อ ก. เข้าเนื้อ. เข้าโลง (ปาก) ก. ตาย. เข้าวัดเข้าวา ก. ไปวัดเพื่อฟังเทศน์ฟังธรรม, ไปอยู่ที่วัดเพื่อปฏิบัติธรรม, ประพฤติตนอยู่ในศีลในธรรม. เข้าว่า ว. เป็นสำคัญ เช่น เอามากเข้าว่า. เข้าเวร ก. เข้าอยู่รักษาหน้าที่ตามเวลาที่กะกันไว้. เข้าแว่น ก. ถึงวัยหรือเวลาที่ต้องสวมแว่นตา. เข้าเศียร ก. เอาไพ่ตอง ๓ ใบพวกเดียวกันแต่ไม่เหมือนกันมา เข้าชุดกันเป็น ๑ เศียร. เข้าสมาธิ [-สะมาทิ] ก. ทำจิตให้แน่วแน่อย่างเข้าฌาน. เข้าสิง ก. อาการที่เชื่อกันว่าผีเข้าแทรกอยู่ในตัวคน เช่น เขาถูกผีเข้าสิง, โดยปริยายหมายความว่าครอบงำ เช่น เขาถูกผีการพนันเข้าสิง. เข้าสุหนัต ก. เข้าพิธีขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายตามข้อกำหนด ในศาสนาอิสลาม. เข้าใส่ ว. ตรงเข้าไปโดยเร็ว เช่น กรากเข้าใส่ รี่เข้าใส่. เข้าไส้ (ปาก) ว. ถึงอกถึงใจ เช่น นักมวยคู่นี้ชกกันมันเข้าไส้; มากที่สุด เช่น เกลียดเข้าไส้. เข้าหน้า ก. เผชิญหน้า เช่น ไม่กล้าเข้าหน้า. เข้าหม้อ (ปาก) ก. ลืมวิชาความรู้ที่ได้เรียนมา. เข้าหลัก ก. ถูกแบบ, ถูกตำรา, บางทีใช้ว่า เข้าหลักเข้าเกณฑ์. เข้าหา ก. ไปให้เห็นหน้า, ไปอ่อนน้อม เช่น เรื่องนี้ต้องเข้าหาผู้ใหญ่; ลอบเข้าห้องหญิงเพื่อการชู้สาว. เข้าหุ้น ก. รวมทุนเข้าด้วยกันเพื่อหาผลประโยชน์. เข้าหู ก. มาให้ได้ยิน (ใช้สำหรับเรื่องราวหรือข่าวคราว) เช่น เรื่องนี้ เข้าหูฉันบ่อย ๆ. ว. น่าฟัง (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น พูดไม่เข้าหู. เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา (สำ) ก. บอกหรือสอนไม่ได้ผล. เข้าให้ ว. เน้นความเพื่อแสดงกริยาข้างหน้าให้มีน้ำหนักขึ้นและเฉพาะ เจาะจง เช่น ด่าเข้าให้ ชกเข้าให้. เข้าไหนเข้าได้ ก. สามารถติดต่อหรือคบหาสมาคมกับใคร ๆ ได้. ๒ (โบ) น. ข้าว; ขวบปี.
Thai dictionary (พจนานุกรมไทย). 2014.