หู

หู
น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทำหน้าที่สำหรับฟังเสียง; ส่วนแห่ง
สิ่งของที่ทำไว้หิ้ว แขวน ร้อย หรือรูดเข้าออก เช่น หูกระทะ หูมุ้ง หูกางเกง หูถุง; สิ่งที่ทำเป็นห่วงหรือเป็นวง ๆ เช่น หูแจว; (ปาก) เรียกส่วนหูฟังและ กระบอกพูดของเครื่องรับโทรศัพท์ว่า หูโทรศัพท์. หูกระต่าย น. เงื่อนที่ผูกมีรูปคล้ายหูกระต่าย, เรียกผ้าผูกคอชนิดหนึ่ง ผูก เป็นรูปโบ ว่า ผ้าผูกคอหูกระต่าย; เรียกเครื่องสวมศีรษะแบบหนึ่ง ทำด้วย ผ้าหรือสักหลาดสีต่าง ๆ รูปทรงกระบอกสั้น ๆ มีแผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ติดขอบหมวกสำหรับปกใบหูทั้ง ๒ ข้าง ว่า หมวกหูกระต่าย; ไม้ขวางเรือ อันที่สุดของหัวเรือหรือท้ายเรือ, กระทงเหิน ก็เรียก. (ดู กระทงเหิน ที่ กระทง ๑). (รูปภาพ เงื่อนหูกระต่าย) (รูปภาพ หมวกหูกระต่าย) หูกว้างตากว้าง ว. รอบรู้ทันเหตุการณ์, มองเห็นการณ์ไกล, หูยาวตายาว ก็ว่า. หูกะพง น. ชื่อเงื่อนแบบหนึ่ง ลักษณะคล้ายรูปเลข 8 อาระบิก (?) ใช้ผูก ตัวไม้บางตัวในเรือนเครื่องผูกให้ติดกันเป็นต้น. หูเข้าพรรษา ว. ไม่รับรู้รับฟังสิ่งใด ๆ ทั้งสิ้นมักใช้เป็นสำนวนเปรียบเทียบ เช่น ทำเป็นหูเข้าพรรษาไปได้. หูแจว น. วงด้ายดิบหรือเชือกที่ชุบน้ำบิดให้เป็นเลข 8 อาระบิก (?) สำหรับคล้องแจวให้ยึดกับหลักแจว. หูฉลาม น. ชื่ออาหารคาวแบบจีน ปรุงด้วยครีบหรือกระโดงปลาฉลาม เนื้อปู เป็นต้น. หูฉี่ (ปาก) ว. มากเหลือเกิน เช่น แพงหูฉี่ เผ็ดหูฉี่. หูชอง น. เชือกใบลานสำหรับมัดลานหนังสือ. หูชัน ก. อาการที่แสดงว่าตั้งใจฟัง (มักใช้แก่สัตว์บางชนิด). หูช้าง ๑ น. แผ่นกระดานที่ทำเป็นรูปฉากหรือพัดด้ามจิ้วสำหรับติดกับ มุมสิ่งของ, ชื่อฉากซึ่งเป็นเครื่องมือวัดมุมของช่างไม้; แผ่นกระจกหรือ พลาสติกที่รถยนต์เป็นรูปคล้ายหูช้าง สำหรับเปิดรับลมหรือระบายลม; ชื่อขนมชนิดหนึ่งปรุงด้วยแป้งกับน้ำตาลทำเป็นแผ่น ๆ. หูดับ ว. อาการของหูที่อื้อไปพักหนึ่งเนื่องจากได้ยินเสียงดังมาก. หูดับตับไหม้ ว. ลักษณะเสียงที่ดังมากจนกลบเสียงอื่น. หูตัน ว. อาการที่หูฟังไม่ได้ยินเพราะมีขี้หูเต็มช่องหู, โดยปริยาย หมายความว่าไม่ได้ยิน เช่น เรียกเท่าไรก็ไม่ได้ยิน หูตันหรืออย่างไร. หูตาสว่าง ว. รู้เหตุการณ์ดีขึ้น, รู้ความจริงมากขึ้น. หูตึง ว. ฟังอะไรไม่ใคร่ได้ยิน. หูตูบ น. ใบหูตกห้อยลงมา (ใช้แก่หมา); โดยปริยายหมายถึงทำงานอย่าง หนักหรือถูกใช้งานอย่างหนัก เช่น ถูกใช้จนหูตูบ วิ่งจนหูตูบ. หูแตก น. แก้วหูแตก, เยื่อในหูสำหรับรับเสียงฉีกขาด, โดยปริยายหมาย ความว่า มีเสียงดังมาก แต่ก็ไม่ได้ยินราวกับแก้วหูฉีกขาด เช่น หูแตก หรืออย่างไร ตะโกนเรียกเท่าไร ๆ จึงไม่ได้ยิน. หูทิพย์ น. หูที่จะฟังอะไรได้ยินทั้งหมด. หูเบา ว. เชื่อโดยไม่ไตร่ตรอง. หูป่าตาเถื่อน ว. รู้ไม่ทันเหตุการณ์เพราะอยู่ห่างไกลหรือไม่สนใจ เป็นต้น, โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้ขนบธรรมเนียมว่าควรปฏิบัติ อย่างไรเพราะไม่ได้รับการอบรม เช่นคนสามัญเดินบนลาดพระบาท. หูผีจมูกมด (สำ) ว. รู้เรื่องอะไรได้เร็วทันท่วงที. หูผึ่ง ว. เอาใจใส่อยากฟังอยากรู้. หูฝาด, หูเฝื่อน ก. ได้ยินเสียงเพี้ยนไป. หูยาน น. ชื่อพระเครื่องแบบหนึ่ง มีติ่งหูยาวมากผิดปรกติ. หูยาวตายาว ว. รอบรู้ทันเหตุการณ์, มองเห็นการณ์ไกล, หูกว้างตากว้าง ก็ว่า. หูรูด น. รูที่ร้อยเชือกสำหรับชักปากถุงเป็นต้นให้ติดกัน; ปากช่องทวาร หนักที่กล้ามเนื้อรัดตัวเข้ามาคล้ายปากถุงที่รูด, โดยปริยายเรียกผู้ที่พูดพล่าม พูดพล่อย หรือพูดโดยไม่ยั้งคิดเสียก่อนว่าอะไรควรพูดหรือไม่ควรพูด ว่า ปากไม่มีหูรูด. หูลี่ ว. อาการที่หูของหมาลู่เอนไปข้างหลังแสดงอาการประจบหรือกลัว เป็นต้น. หูแว่ว ก. ได้ยินเสียงแผ่ว ๆ ไม่ชัดเจน; ได้ยินไปเอง. หูไว ว. ตื่นง่าย เช่น เขาเป็นคนหูไว พอได้ยินเสียงแว่ว ๆ ก็ตื่นทันที, มี ประสาทหูไว เช่น เขาเป็นคนหูไว ใครพูดเสียงเบา ๆ ยังได้ยิน; (ปาก) รู้ ข่าวคราวเร็ว เช่น เขาเป็นคนหูไว รู้เรื่องอะไร ๆ ก่อนคนอื่นเสมอ. หูไวตาไว ว. รู้ทันเหตุการณ์ได้รวดเร็ว. หูหนวก น. หูที่ขาดสมรรถภาพในการได้ยินเสียง, โดยปริยายหมายความ ว่า ฟังอะไรไม่ได้ยิน. หูหนวกตาบอด (สำ) ว. ไม่รับรู้รับเห็นสิ่งใด ๆ ทั้งสิ้น. หูหนัก ว. ไม่เชื่อคำป้อยอหรือยุแหย่เป็นต้นของใครง่าย ๆ. หูหนาตาโต, หูหนาตาเล่อ น. ชื่อโรคเรื้อน. หูหาเรื่อง (สำ) น. หูที่รับฟังแล้วตีความไปอีกอย่างหนึ่งซึ่งมีลักษณะไป ในทางที่ไม่ดี. หูไห น. ชื่อพระเครื่องแบบหนึ่งด้านหลังมีหูสำหรับร้อยเชือกผูกคอช้างศึก ม้าศึก. หูอื้อ ว. อาการที่รู้สึกเหมือนมีลมอยู่ในหูทำให้ไม่ค่อยได้ยินเสียง.

Thai dictionary (พจนานุกรมไทย). 2014.

Игры ⚽ Нужна курсовая?

Share the article and excerpts

Direct link
Do a right-click on the link above
and select “Copy Link”