- หา
- ๑ก. มุ่งพบ, พบ, เช่น ไปหาหมอ เพื่อนมาหา; เยี่ยม, เยี่ยมเยียน, เช่น เพิ่ง ทราบว่าครูกำลังป่วย ต้องไปหาท่านเสียหน่อย; ฟ้อง, กล่าวโทษ, เช่น เขาหาว่า...; พึ่ง เช่น ไม่รู้จะหันหน้าไปหาใคร; บางทีก็ใช้ควบกับคำอื่น มีความหมายว่า ขวนขวายเพื่อให้ได้มาโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ค้นหา สืบหา เที่ยวหา ตามหา เสาะหา แสวงหา. บ. ที่ เช่น เขาอยู่หาไหน ๆ ก็ไม่รู้ จะไปตามตัวเขาได้อย่างไร; สู่ เช่น เด็กว่ายน้ำเข้าหาฝั่ง. หากิน ก. ทำงานเลี้ยงชีวิต, หาเลี้ยงชีพ, เช่น เขาหากินด้วยการประกอบ อาชีพสุจริต, มักใช้เข้าคู่กับคำ ทำมา เป็น ทำมาหากิน, หาอาหาร เช่น ให้แต่ที่พัก หากินเอาเอง. ว. ที่หาเลี้ยงชีพด้วยการค้าประเวณี ในคำว่า หญิงหากิน. หากินด้วยลำแข้ง (สำ) ก. หาเลี้ยงชีพด้วยความมานะพยายามของตัวเอง. หากินตัวเป็นเกลียว (สำ) ก. ขยันทำมาหากินจนไม่มีเวลาได้พักผ่อน. หากินตามชายเฟือย (สำ) ก. หาเลี้ยงชีพอย่างไม่เป็นล่ำเป็นสันได้ไหน เอานั่นไปเรื่อย ๆ. หาความ ก. กล่าวโทษ, ใส่ความ; หาเรื่องไม่จริงมาว่า. หาค่าบ่มิได้, หาค่ามิได้ ว. มีค่ามากจนประมาณไม่ได้. หาเงิน (โบ) น. เรียกหญิงที่หาเลี้ยงชีพด้วยการค้าประเวณีว่า หญิงหาเงิน. (โบ) ก. ไปขายตัวเป็นทาส. หาเช้ากินค่ำ ก. หาเลี้ยงชีพด้วยความลำบากยากแค้นพอประทังชีวิตไป วันหนึ่ง ๆ. หาตัวจับยาก (สำ) ว. เก่งมาก, หาคนเทียบเท่าได้ยาก, เช่น เขาเป็นคน เรียนเก่งหาตัวจับยาก เขาเล่นการพนันเก่งหาตัวจับยาก. หาทำยายาก (สำ) ก. หาได้ยากเพราะไม่ค่อยมีทำนองเดียวกับสมุนไพร บางอย่างในที่บางแห่งหาได้ยากมาก. หาบมิได้, หาบ่มิได้ [หาบอ-, หาบ่อ-] ว. ไม่มีเลย เช่น คนดีอย่างนี้หาบมิได้, บางทีใช้คร่อมกับคำอื่น เช่น เพชรเม็ดนี้หาตำหนิบ่มิได้. หาไม่ ๑ ก. ใช้ในความปฏิเสธหมายความว่า ไม่, ไม่มี, เช่น เขาจะสำนึกผิด ก็หาไม่ เขาจะมีความเกรงใจสักนิดก็หาไม่; สิ้นสุด เช่น จนกว่าชีวิตจะหาไม่. หาไม่ ๒, หา...ไม่ ว. ใช้ในความปฏิเสธ นิยมใช้คร่อมกับคำนามหรือคำ กริยา เช่น หาใช่คนไม่ = ไม่ใช่คน หาพบไม่ = ไม่พบ. หาไม่ ๓ สัน. มิฉะนั้น, ไม่เช่นนั้น, เช่น เธอต้องออกไปจากบ้านของฉัน เดี๋ยวนี้ หาไม่ฉันจะแจ้งตำรวจว่าเธอบุกรุก. หารือ ก. ปรึกษา. หาเรื่อง ก. ทำให้เกิดเหตุ เช่น อยู่ดี ๆ ก็ไปหาเรื่อง, เอาความไม่ดีมาให้ เช่น เด็กคนนี้หาเรื่องให้ปวดหัวอยู่เรื่อย; หาสาเหตุเพื่อทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น หาเรื่องกินเหล้ากัน; ชวนวิวาท เช่น พวกเรานั่งอยู่ดี ๆ มาหาเรื่อง กันได้. หาเลือดกับปู (สำ) ก. เคี่ยวเข็ญหรือบีบบังคับเอากับผู้ที่ไม่มีจะให้, รีด เลือดกับปู หรือ เอาเลือดกับปู ก็ว่า. หาเศษหาเลย (สำ) ก. หาประโยชน์เล็ก ๆ น้อย ๆ, เบียดบังเอาส่วนที่เหลือ เล็ก ๆ น้อย ๆ ไว้, เช่น แม่ครัวมักหาเศษหาเลยจากเงินที่นายมอบให้ไป จ่ายตลาด, บางทีก็ใช้ในทางชู้สาว เช่น ทั้ง ๆ ที่แต่งงานแล้ว เขาก็ยังไป หาเศษหาเลยนอกบ้านอีก. หาสู่ ก. เยี่ยมเยียน, มักใช้ควบกับคำ ไปมา เป็น ไปมาหาสู่. หาเสียง ก. แสวงหาการสนับสนุน. หาห่วงมาคล้องคอ (สำ) ก. รนหาภาระผูกพันมาใส่ตน. หาเหตุ ก. คอยยกข้อผิด, จับผิด, เช่น เขาชอบหาเหตุฉันอยู่ตลอดเวลา; หาสาเหตุ, หาที่มา, เช่น ไฟไหม้ครั้งนี้หาเหตุไม่ได้; ข้ออ้าง เช่น เขาหา เหตุลาหยุดงาน. หาเหาใส่หัว (สำ) ก. รนหาเรื่องเดือดร้อนรำคาญมาใส่ตน. ๒ ว. เสียงซักหรือเตือนให้ตอบ เช่น ว่ากระไรหา.
Thai dictionary (พจนานุกรมไทย). 2014.