- หัน
- ๑ก. ผันร่างไปทางใดทางหนึ่ง เช่น หันซ้าย คือ ผันร่างไปทางซ้าย หันขวา คือ ผันร่างไปทางขวา, ผินไปทางใดทางหนึ่ง เช่น นิยมสร้างโบสถ์หันหน้า ไปทางทิศตะวันออก, หมุน เช่น หันหน้ามาทางนี้; เปลี่ยนใจ เช่น หันไปเข้า กับศัตรู. หันกลับ ก. เปลี่ยนไปสู่สภาพเดิม เช่น เขาทั้งสองหันกลับไปคืนดีกัน. หันข้าง ก. ผินด้านข้างให้เพราะงอนหรือไม่พอใจเป็นต้น. หันรีหันขวาง ก. อาการที่หันเหไปมา เก้ ๆ กัง ๆ ตัดสินใจไม่ถูกว่าจะทำ อย่างใด. หันหน้า (สำ) ก. พึ่งพาอาศัย เช่น ไม่รู้จะหันหน้าไปหาใคร. หันหน้าเข้าวัด (สำ) ก. มุ่งหน้าเข้าวัดเพื่อถือศีลฟังเทศน์เป็นต้น. หันหน้าเข้าหากัน (สำ) ก. ปรองดองกัน, สมัครสมานกัน, เช่น ทุกฝ่าย จะต้องหันหน้าเข้าหากัน. หันหลัง (สำ) ก. เลิก เช่น หันหลังให้อบายมุข. หันหลังชนกัน (สำ) ก. ร่วมมือร่วมใจกัน. หันหลังให้กัน (สำ) ก. โกรธกัน, เลิกคบค้ากัน. หันเห ก. เบนจากเดิม. หันเหียน ก. เปลี่ยนท่าทาง, พลิกแพลง, เช่น รำร่ายหันเหียนเวียนละวัน หมายมั่นเข่นฆ่าราวี. (อิเหนา), เหียนหัน ก็ว่า. หันอากาศ น. เรียกเครื่องหมายรูปสระดังนี้ ?ว่า ไม้หันอากาศ ใช้แทน เสียงสระอะในกรณีที่มีตัวสะกด เช่น ก ะ ด = กัด, หางกังหัน หรือ ไม้ผัด ก็เรียก. ๒ (ถิ่น-พายัพ) ก. เห็น.
Thai dictionary (พจนานุกรมไทย). 2014.