- สับ
- ๑ก. เอาของมีคมเช่นมีดหรือขวานฟันลงไปโดยแรงหรือซอยถี่ ๆ เช่น สับกระดูกหมู สับมะละกอ, กิริยาที่เอาสิ่งมีปลายงอนหรือปลายแหลม เจาะลงไป เช่น เอาขอสับช้าง, เอาสิ่งที่เป็นขอเกี่ยวเข้าไว้ เช่น สับขอ หน้าต่าง, โดยปริยายหมายถึงอาการที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สับด้วยสันมือ ถูกโขกถูกสับ; ทำเชือกให้เข้าเกลียวตั้งแต่ ๓ เกลียว ขึ้นไปให้เขม็งแน่น เรียกว่า สับเชือก; เปลี่ยนแทนที่กัน เช่น วางของ สับที่ ใส่รองเท้าสับข้าง เต้นรำสับคู่ สับตัวจำเลย. สับเกลียว, สับเชือก ก. เอาเชือก ๒ เส้นฟั่นควบเป็นเส้นเดียวกัน แล้ว เอาเชือกเส้นที่ ๓ ซึ่งเขม็งแล้วควบเข้าไประหว่างเชือก ๒ เส้นนั้น โดยคลายเกลียวที่ปลายเชือก ๒ เส้นแรกเล็กน้อย เพื่อให้เชือกเส้น ที่ ๓ สอดควบเข้าด้วยกันได้จนตลอด. สับโขก ก. ดุด่าว่าให้เจ็บใจอยู่เสมอ ๆ, โขกสับ ก็ว่า. สับเงา ว. สัปหงก, อาการที่หน้าหงุบลงเพราะง่วงนอน. สับนก ว. เรียกแกงเผ็ดชนิดหนึ่ง ใช้ปลาตัวเล็ก ๆ สับละเอียดทั้งเนื้อ และก้างว่า แกงสับนก. สับเปลี่ยน ก. เปลี่ยนแทนที่กัน เช่น สับเปลี่ยนตำแหน่ง. สับไพ่ ก. นำไพ่ทั้งสำรับมาตัดเป็นกอง ๆ แล้วรวมโดยสับกองกัน. สับสน ก. ปะปนกันยุ่งไม่เป็นระเบียบ เช่น ข่าวสับสนทำให้ได้ข้อมูล ไม่ถูกต้อง ผู้คนมากมายเดินไปมาสับสน. สับหลีก (ปาก) ก. เปลี่ยนทางหลีกของรถไฟ, โดยปริยายหมายความ ว่า เปลี่ยนหรือกำหนดนัดไม่ให้ผู้มาหาตนพบกับอีกคนหนึ่ง (มักใช้ ในทางชู้สาว). สับหว่าง ว. เยื้องระหว่างแถว จะเป็น ๒ แถวหรือหลายแถวก็ได้ เช่น นั่งสับหว่าง ยืนสับหว่าง. ๒ (โบ) ว. สรรพ. ๓ ว. ถ้วน, พอดี, เช่น ห้าสองหนเป็นสิบสับ. (มูลบทบรรพกิจ).
Thai dictionary (พจนานุกรมไทย). 2014.