- สัตตะ
- ๑[สัด, สัดตะ] ว. เจ็ด. (ป. สตฺต; ส. สปฺต). สัตตาห น. เจ็ดวัน. สัตตาหกรณียะ [สัดตาหะกะระนียะ, สัดตาหะกอระนียะ] น. กิจที่ พึงทำเป็นเหตุให้ภิกษุออกจากวัดไปพักแรมในที่อื่นในระหว่างพรรษา ได้ไม่เกิน ๗ วัน เช่นเพื่อไปพยาบาลภิกษุสามเณรหรือบิดามารดาที่ ป่วยไข้หรือเพื่อบำรุงศรัทธาของทายก. สัตตาหกาลิก น. ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียง ๗ วัน ได้แก่ เภสัช ทั้ง ๕ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย. (ป.). สัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์ ๑ [สัดตะบอริพัน, สัดตะพัน] น. ภูเขาที่ล้อม เป็นวงกลมรอบเขาพระสุเมรุเป็นชั้น ๆ รวม ๗ ชั้น สูงลดหลั่นกันลงมา ตามลำดับชื่อภูเขาชั้นในที่สุดจากเขาพระสุเมรุออกมา คือ ยุคนธร อิสินธร กรวิก สุทัสนะ เนมินธร วินตกะ อัสกัณ ระหว่างภูเขาแต่ละชั้น มีทะเลสีทันดรคั่น. (ป. สตฺตปริภณฺฑ, สตฺตภณฺฑ). สัตภัณฑ์ ๒ [พัน] น. ชื่อเชิงเทียน ทำเป็นแผงรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ติดไม้กลึงเป็นเชิงเทียน ๗ เชิง กรอบมักทำเป็นรูปพญานาคเลื้อยลงมา คล้ายกรอบหน้าบัน. สัตม ว. ที่ ๗. (ป. สตฺตม). สัตมวาร [สัดตะมะวาน] น. วันที่ครบ ๗, วันทำบุญครบ ๗ วันของ ผู้ตาย. สัตมหาสถาน [สัดตะมะหาสะถาน] น. สถานที่ ๗ แห่งที่พระพุทธเจ้า เสวยวิมุติสุขภายหลังตรัสรู้. สัตโลหะ [สัดตะ] น. โลหะ ๗ ชนิด คือ เหล็ก ๑ ปรอท ๑ ทองแดง ๑ เงิน ๑ และทองคำ ๑, เพียงนี้เรียกว่า เบญจโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ เจ้า ๑ (เป็นคำตัดมาจาก ''เจ้าน้ำเงิน'' ว่า เป็นแร่ชนิดหนึ่ง สีเขียว เป็นสีน้ำเงิน) และสังกะสี ๑ เรียกว่า สัตโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ ชิน ๑ และบริสุทธิ์ ๑ (คือทองแดงบริสุทธิ์) เรียกว่า นวโลหะ. (ตำราสร้างพระพุทธรูป). สัตวาร น. สัปดาห์หนึ่ง, ๗ วัน. (ป. สตฺตวาร). สัตสดก [สะดก] น. หมวดละ ๗๐๐ เช่น แล้วประจงจัดสัตสดกมหา ทานเป็นต้นว่าคชสารเจ็ดร้อย. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์). (ป. สตฺตสตก). ๒ ก. ข้องอยู่, ติดอยู่, พัวพัน. น. สัตว์. (ป.).
Thai dictionary (พจนานุกรมไทย). 2014.