- ว่า
- ก. พูด, บอก, เช่น เขาว่า ที่นี่ฝนตกทุกวัน; ดุ เช่น อย่าเอะอะไปเดี๋ยวครูว่าเอา, ติ เช่น ดีแต่ว่าเขา; ดุด่าว่ากล่าว เช่น ว่าไม่ได้ ก็เลี้ยง ไม่ได้; ร้อง เช่น ว่าเพลง; จ้าง, ตกลงให้ทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยให้ ค่าจ้าง, เช่น ไปว่าขนมมาเลี้ยงแขก, ว่าจ้าง ก็ว่า; ใช้เป็นสันธาน เชื่อมประโยค เช่น พูดว่า คิดว่า หมายความว่า มีความเห็นว่า. (ปาก) ก. เป็นคำใช้แทนกริยาอื่นบางคำได้ เป็นต้นว่าใช้แทนคำว่า กิน เช่น ว่าเสียเรียบ ว่าเสียเต็มคราบ ใช้แทนคำว่า ทำ เช่น ว่าเสียเอง. ว่ากลอนสด ก. กล่าวกลอนที่ผูกขึ้นอย่างปัจจุบันโดยมิได้คิด มาก่อน; โดยปริยายหมายถึงกล่าวข้อความที่ไม่ได้เตรียมมาก่อน, พูดกลอนสด ก็ว่า. ว่ากล่าว ก. ตำหนิ, ตักเตือน, เช่น มาทำงานสายเป็นประจำ จึงถูกผู้บังคับบัญชาเรียกไปว่ากล่าว, สั่งสอน เช่น ผู้ใหญ่ว่ากล่าวไม่เชื่อฟัง. ว่าการ ก. ดูแลตรวจตราสั่งการงาน. ว่าขาน ก. พูดต่อว่า, พูดติ, เช่น พระมิได้ตอบคำว่าขาน ตรัสแต่กิจการกรุงศรี แต่ดูพระกิริยาพาที เหมือนจะเคลื่อนคลาย ที่โกรธา ฯ (อิเหนา). ว่าข้ามหัว, ว่าส่งไป ก. พูดลอย ๆ ไม่เจาะจงคู่กรณีหรือผู้ถูกว่า. ว่าเข้านั่น (ปาก) เป็นคำที่เปล่งออกมาในลักษณะที่แสดงว่าเรื่อง ที่อีกฝ่ายหนึ่งกล่าวนั้นไม่น่าเชื่อถือเป็นต้น. ว่าความ ก. (กฎ) ว่าต่างหรือแก้ต่างแทนคู่ความในคดี; (โบ) ชำระความ เช่น ท้าวมาลีวราชว่าความ. ว่าง่าย, ว่านอนสอนง่าย ก. อยู่ในโอวาท, เชื่อฟังคำสั่งสอนโดยดี. ว่าจ้าง ก. จ้าง, ตกลงให้ทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยให้ค่าจ้าง, เช่น เขาว่าจ้างช่างให้มาทำรั้วบ้าน, ว่า ก็ว่า. ว่าด้วย บ. เกี่ยวกับ เช่น วารสารชุดนี้ว่าด้วยเรื่องวัฒนธรรม กฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์. ว่าต่าง (กฎ) ก. ว่าความแทนโจทก์, ใช้คู่กับ แก้ต่าง ซึ่งหมายถึง ว่าความแทนจำเลย. ว่าตามหลัง ก. ติเตียนหรือนินทาเมื่อผู้ถูกว่าคล้อยหลังไปแล้ว. ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง (สำ) ก. ตำหนิผู้อื่นเรื่องใดแล้วตนก็กลับทำ ในเรื่องนั้นเสียเอง. ว่าที่ ก. รั้งตำแหน่งหรือยศ (ใช้แก่ทหารหรือตำรวจ) เช่น ว่าที่ร้อยตรี ว่าที่พันตำรวจโท; (ปาก) รั้งตำแหน่งที่จะเป็นต่อไป เช่น ว่าที่พ่อตา. ว่าไปทำไมมี ก. พูดไปก็เสียเวลาเปล่า ๆ เช่น ว่าไปทำไมมี เมื่อก่อนก็ไม่มีสมบัติอะไรติดตัวอยู่แล้ว; ใช้เป็นคำขึ้นต้นประโยค หมายความว่า อันที่จริง เช่น ว่าไปทำไมมี เราคนกันเองทั้งนั้น. ว่าไม่ได้ (ปาก) ว. ยังลงความเห็นไม่ได้, ยังไม่แน่นอน, เช่น ว่าไม่ได้เขาอาจจะถูกสลากกินแบ่งรางวัลที่ ๑ ก็ได้. ว่าไม่ไว้หน้า ก. ดุด่าว่ากล่าวผู้ใดผู้หนึ่งต่อหน้าให้ได้รับความอับอาย โดยไม่เกรงใจ. ว่ายาก ว. ดื้อดึง, ไม่อยู่ในโอวาท, ไม่เชื่อฟังคำสั่งสอน, ว่ายากสอนยาก ก็ว่า. ว่าลับหลัง ก. นินทา. ว่าแล้ว เป็นคำที่เปล่งออกมาในลักษณะที่ได้เกิดเหตุการณ์ ตรงตามที่ได้ว่าไว้ เช่น ฉันว่าแล้วไม่ผิดไปจากที่พูดเลย. ว่าแล้วว่าอีก ก. พูดหรือตำหนิติเตียนซ้ำซาก. ว่าวอน (แบบ) ก. อ้อนวอน เช่น ผ่านม่านสุวรรณซึ่งกั้นกาง เห็นนางบรรทมอยู่ในที่ พี่เลี้ยงโลมไล้ไม่ไยดี มะเดหวีจึงเข้าไป ว่าวอน. (อิเหนา). ว่าส่ง ๆ, ว่าส่งเดช ก. พูดพล่อย ๆ ไม่มีเหตุผล. ว่าสาดเสียเทเสีย (สำ) ก. ว่าอย่างเจ็บแสบทำให้เสียหาย อย่างรุนแรง. ว่าใส่หน้า ก. ต่อว่าหรือติเตียนซึ่ง ๆ หน้า. ว่าอะไรว่าตามกัน (สำ) ก. ปรองดองกัน, ไม่ขัดคอกัน, พูดเต็มว่า ว่าอะไรว่าตามกัน ได้เงินหม้อทองหม้อ หมายความว่า ว่าอะไร ว่าตามกัน จะเกิดความเจริญมั่งคั่ง (มักใช้แก่คู่สามีภรรยา). ว่าเอาเอง ก. พูดแต่งเรื่องขึ้นมาเอง.
Thai dictionary (พจนานุกรมไทย). 2014.