- ละ
- ๑ก. อาการที่แยกตัวให้พ้นจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องอยู่ เช่น ละถิ่น ละบ้าน ละสมณเพศ; ทิ้งไว้, ปล่อยไว้, เช่น ละไว้ในฐาน ที่เข้าใจ ละพยศ; เว้นว่างคำหรือข้อความไว้ไม่กล่าวให้เต็ม โดย ใช้เครื่องหมาย ฯ หรือ ฯลฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย หรือ ไปยาลใหญ่ หรือเขียนว่างเป็นจุด ๆ ดังนี้ … หรือเว้นว่างไว้โดยใช้เครื่องหมาย ดังนี้ - ''- แสดงว่ามีคำหรือข้อความซ้ำกับบรรทัดบน. ว. คำประกอบ คำนามให้รู้ว่าเป็นหน่วยหนึ่ง ๆ หรือส่วนหนึ่ง ๆ ในจำนวนรวม ซึ่งกำหนดเป็นราย ๆ ไป เช่น คนละ ปีละ, คำประกอบกริยาเพื่อ เน้นความให้มีน้ำหนักขึ้น เช่น ไปละ เอาละ. ละทิ้ง ก. ละด้วยวิธีทิ้ง เช่น ละทิ้งหน้าที่. ละเมิน ก. ละด้วยการไม่เหลียวแล. ละลด ก. ยอมเว้นให้, ยอมหย่อนให้, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เถียงอย่างไม่ละลด, ลดละ ก็ว่า. ละเลย ก. เพิกเฉย, ทอดทิ้ง, เช่น ละเลยไม่เอาธุระ ละโลก ก. ตาย เช่น เขาละโลกไปแล้ว. ละวาง ก. ปล่อยวาง เช่น ละวางกิเลส. ละเว้น ก. งดเว้น, ยกเว้น, เช่น ลงโทษทุกคนไม่ละเว้นผู้ใด ทุกคน ถูกบังคับให้ทำงานไม่มีละเว้น. ๒ ว. คำใช้ประกอบหน้าคำ ก็ เป็น ละก็ เพื่อเน้นความให้กระชับขึ้น เช่น เด็กละก็ซนอย่างนี้.
Thai dictionary (พจนานุกรมไทย). 2014.